ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง พลวัตอนินทรีย์ไนโตรเจนในดินภายหลังการไถกลบซากพืช จากกรรมวิธีการจัดการแปลงก่อนการปลูกอ้อยแบบต่างๆ
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง วรรณวิภา แก้วประดิษฐ์
เจ้าของผลงานร่วม ทิวาพร เทพาขันธ์ , พัชรี แสนจันทร์ , บรรยง ทุมแสง , ประภัสสร คำคง
คำสำคัญ ข้าวไร่;ปุ๋ยพืชสด;ความอุดมสมบูรณ์ดิน
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการย่อยสลายและการเปลี่ยนแปลงอนินทรีย์ไนโตรเจนในดิน ที่มีการไถกลบเศษซากข้าวไร่และพืชตระกูลถั่ว วางแผนงานทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) 4 ซ้ำ การทดลองประกอบขึ้นด้วย 5 กรรมวิธีทดลอง ได้แก่ 1) ไม่ไถกลบเศษซากพืช, 2) ไถกลบวัชพืช, 3) ไถกลบซากถั่วเหลือง, 4) ไถกลบซากปอเทือง, 5) ไถกลบซากข้าวไร่ ทำการเก็บตัวอย่างดินและ litter bag ที่ระยะ 1, 2, 4, 8, 12, 16, 24 และ 32 สัปดาห์หลังการไถกลบ เพื่อวิเคราะห์หาอนินทรีย์ไนโตรเจนในดิน (soil mineral N) โดยใช้เครื่อง Flow Injection Analyzer (FIA) และน้ำหนักแห้งคงเหลือของ litter bag และวิเคราะห์หาคุณสมบัติทางเคมีของดินหลังการทดลอง ผลการศึกษาพบว่า กรรมวิธีไถกลบซากปอเทืองนั้นส่งผลให้ดินมีปริมาณอนินทรีย์ไนโตรเจนสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P ≤ 0.05) ที่ 4, 8, 12 และ 16 สัปดาห์หลังการไถกลบ เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งคงเหลือ (% remaining dry weight) ของ litter bag แตกต่างกันทางสถิติ (P ≤ 0.05) ทุกครั้งที่มีการเก็บข้อมูล ซากวัชพืชมีการย่อยสลายช้าที่สุด ในขณะที่ซากถั่วเหลืองมีการย่อยสลายเร็วที่สุด
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=65.pdf&id=533&keeptrack=22
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


พลวัตอนินทรีย์ไนโตรเจนในดินภายหลังการไถกลบซากพืช จากกรรมวิธีการจัดการแปลงก่อนการปลูกอ้อยแบบต่างๆ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง