ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การทดสอบความชอบในการเข้าทำลายของด้วงงวงมันเทศ (Cylas formicarius F.) บนมันเทศพันธุ์ต่าง ๆ
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง จรงค์ศักดิ์ พุมนวม
เจ้าของผลงานร่วม อรอุมา รุ่งน้อย , ลำแพน ขวัญพูล
คำสำคัญ มันเทศ;ด้วงงวงมันเทศ;น้ำยาง;ฟีนอลิก;ความต้านทาน
หน่วยงาน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย จากการศึกษาความชอบในการเข้าทำลายของด้วงงวงมันเทศ (Cylas formicarius F.) บนมันเทศ 219 พันธุ์ ในสภาพแปลงปลูก ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร จังหวัดพิจิตร และการศึกษาความชอบในการกินหัวมันเทศสดในพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือก ในห้องปฏิบัติการแบบ No-Choice รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทำลายกับโทนสีของหัวมันเทศ เปอร์เซ็นต์น้ำหนักยางแห้ง เปอร์เซ็นต์น้ำหนักหัวมันแห้ง และปริมาณสารประกอบ ฟีนอลิก พบว่า ด้วงงวงมันเทศชอบเข้าทำลายหัวมันเทศที่มีโทนสีต่าง ๆ ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% มันเทศ 14 สายพันธุ์ มีการทำลายของด้วงงวงมันเทศในสภาพแปลงไม่เกิน 37.5% ได้แก่ พันธุ์อีดก, มันไทรโยค, ป้าก้าน-2, มันไข่ตราด, มันไข่นครฯ-2, กาฬสินธุ์, มันเหลืองบ้านหลวง, มันไข่เชียงใหม่, บ้านแยง, บ้านแยง-9, S0183, CIP-35-5, BB95040-16 และ CIP-14-1 โดยพันธุ์มันเทศข้างต้นมีความสัมพันธ์ทางด้านลบกับเปอร์เซ็นต์น้ำหนักยางแห้งและเปอร์เซ็นต์น้ำหนักหัวมันแห้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% และมีความสัมพันธ์ทางด้านลบกับสารประกอบฟีนอลิก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 99% โดยมีค่าสหสัมพันธ์ r เท่ากับ -0.55, -0.60 และ -0.83 ตามลำดับ ผลการศึกษาสามารถนำมาใช้ประโยชน์ เพื่อการปรับปรุงพันธุ์มันเทศที่ต้านทานต่อด้วงงวงมันเทศ
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=11-Jarongsak.pdf&id=567&keeptrack=8
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง