ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง แนวทางการส่งเสริม อนุรักษ์และพัฒนาซอบั้งชาวภูไท จังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง พิทยวัฒน์ พันธะศรี
คำสำคัญ ซอบั้ง;ชาวผู้ไท;การส่งเสริม อนุรักษ์และพัฒนา;จังหวัดกาฬสินธุ์
หน่วยงาน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย ศึกษาองค์ความรู้ แนวทางการส่งเสริม อนุรักษ์ และพัฒนา ซอบั้งชาวผู้ไท จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ด้านลักษณะทางกายภาพพบความแตกต่างกัน 2 รูปแบบ คือรูปแบบโบราณ คือ ซอบั้งไม้ไผ่มีสองสาย และปรับตั้งเสียงของสายซอให้มีระดับเสียงเดียวกัน โดยสายที่หนึ่งหรือสายเอกทำหน้าที่เป็น "สายบรรเลงทำนอง" ส่วนสายที่สองหรือสายรองทำหน้าที่เป็น" สายเสียงประสานยืน " และรูปแบบทั่วไป คือจะใช้สายหลักสองสายปรับแต่งเสียงให้มีระดับเสียงห่างกันเป็นคู่สี่ บทเพลงที่พบได้แก่ ลายฟ้อนเกี้ยวหางนกยูง ลายล่องของ ลายลำให้พร ด้านบทบาทของซอบั้งไม้ไผ่ ในอดีตจำแนกได้เป็นสองบทบาท คือบทบาทของซอบั้งในบริบทเฉพาะกลุ่มบุคคล และบทบาทของซอบั้งในบริบทเชิงพิธีกรรม แนวทางส่งเสริม อนุรักษ์ และพัฒนาซอบั้งชาวผู้ไท คือ ส่งเสริมให้มีการบรรเลงซอบั้งทุกรูปแบบที่ควรจัดให้มี ส่งเสริมคนชุมชนได้เรียนรู้และตระหนักถึงความสำคัญของซอบั้ง จัดศูนย์แสดงเครื่องดนตรีเพื่ออนุรักษ์ และให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไป อนุรักษ์ผลงานของปราชญ์ศิลปินชาวบ้าน บทเพลง ผู้ไท และอนุรักษ์การละเล่นต่างๆที่ใช้ดนตรีประกอบ ปรับปรุงแบบการบรรเลงให้ทันสมัย และผสมผสานวัฒนธรรมดั้งเดิมกับวัฒนธรรม เพลงสมัยใหม่ การประยุกต์ใช้อุปกรณ์สมัยใหม่ และพัฒนาเครื่องดนตรีให้เป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์
ข้อมูลเพิ่มเติม http://journal.rmu.ac.th/journal/view_article/e40274f2f6a9662f995813c3da9c00a72018010712070815153016282038685877
สาขาการวิจัย -
Creative Commons License


แนวทางการส่งเสริม อนุรักษ์และพัฒนาซอบั้งชาวภูไท จังหวัดกาฬสินธุ์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง