ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ร่างแหภายนอกเซลล์นิวโทรฟิลในโรคธาลัสซีเมีย |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | รัตนวรรณ์ ทับเทศ |
เจ้าของผลงานร่วม | รัตนวรรณ์ ทับเทศ, ศิริขวัญ ศิริวรเดชกุล, ดร. นพ.กิตติพงศ์ ไพบูลย์สุขวงศ์, ดร.จิม วาโดลาส, ศ. ดร.โกวิท พัฒนาปัญญาสัตย์, รศ. ดร. ม.ล.เสาวรส สวัสดิวัฒน์ และ ผศ. ดร.พรทิพย์ ชัยชมภู |
คำสำคัญ | ร่างแหภายนอกเซลล์นิวโทรฟิล, โรคธาลัสซีเมีย, ภาวะติดเชื้อ, ภาวะเหล็กเกิน |
หน่วยงาน | ภาควิชาพยาธิชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, E-mail: rattanawan.thu@gmail.com, pornthip.chh@mahidol.ac.th |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | โรคเบต้าธาลัสซีเมีย/ฮีโมโกลบินอี เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบมากในประชากรไทย จากอุบัติการณ์พบว่าการติดเชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของผู้ป่วยเบต้าธาลัสซีเมีย/ฮีโมโกลบินอีในประเทศไทย การศึกษานี้มุ่งเน้นศึกษาการทำงานของนิวโทรฟิลในการจับเชื่อแบคทีเรียด้วยร่างแหภายนอก หรือ neutrophil extracellular traps (NETs) โดยกระตุ้นนิวโทรฟิลที่แยกได้จากผู้ป่วยโรคเบต้าธาลัสซีเมีย/ฮีโมโกลบินอีทั้งที่ตัดม้ามแล้วและยังไม่ได้ตัดม้ามและคนปกติด้วย phorbol 12-myristate 13-acetate (PMA) และ lipopolysaccharides (LPS) เพื่อจำลองภาวะติดเชื้อ และ hemin เพื่อจำลองภาวะเหล็กเกิน ด้วยวิธีทาง immunofluorescent assay จากการศึกษาพบว่า นิวโทรฟิลของผู้ป่วยโรคเบต้าธาลัสซีเมีย/ฮีโมโกลบินอีทั้งที่ตัดม้ามแล้วและยังไม่ได้ตัดม้ามมีความสามารถในการเกิด NETs ได้มากกว่าคนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับการป้องกันเชื้อโรคไม่ให้แพร่กระจายหรืออาจส่งผลต่อการเกิดพยาธิสภาพ โดยงานวิจัยนี้จะนำประโยชน์เพื่อทำให้เข้าใจการทำงานของนิวโทรฟิลของผู้ป่วยเบต้าธาลัสซีเมีย/ฮีโมโกลบินอีสำหรับการพัฒนาวิธีการป้องกันความเสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อของผู้ป่วย ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมีชีวิตยืนยาวและช่วยลดปัญหาทางสาธารณสุขได้อีกด้วย |
สาขาการวิจัย |
|
ร่างแหภายนอกเซลล์นิวโทรฟิลในโรคธาลัสซีเมีย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.