ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการถ่ายยีนเข้าสู่ปาล์มน้ำมัน
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง พจมาลย์ สุรนิลพงศ์
เจ้าของผลงานร่วม สุภาวดี ถาวโร , สมปอง เตชะโต
คำสำคัญ ปาล์มน้ำมัน;Agrobacterium tumefaciens;การถ่ายยีน;เอ็มบริโอเจนิคแคลลัส;สารปฏิชีวนะ
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย วัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันด้วยเทคนิคการถ่ายยีน โดยนำเอ็มบริโอเจนิคแคลลัสปาล์มน้ำมัน ที่ชักนำจากใบอ่อนของต้นที่ให้ผลผลิตสูงมาเลี้ยงบนอาหารเติมสารปฏิชีวนะ ชนิด และความเข้มข้นต่าง ๆ เพื่อหาความเข้มข้นที่เหมาะสมต่อการถ่ายยีน ผลการศึกษาพบว่า ไฮโกรมัยซิน คานามัยซิน และฟอสฟิโนทริซิน ความเข้มข้น 20, 200 และ 5 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ เหมาะสมที่จะนำมาใช้คัดเลือกเอ็มบริโอเจนิคแคลลัสที่ได้รับการถ่ายยีน และซีโฟทาซีม ความเข้มข้น 200 มิลลิกรัมต่อลิตร เหมาะสมที่จะนำใช้กำจัดเชื้ออะโกรแบคทีเรีย ส่วนการศึกษาระยะเวลาการบ่มเอ็มบริโอเจนิคแคลลัสร่วมกับเชื้อ ระยะเวลา และวิธีการเลี้ยงร่วมกับเชื้อ เพื่อตรวจหาการแสดงออกอย่างชั่วคราวของยีน gus หลังการถ่ายยีนเป็นเวลา 3 วัน พบว่า เอ็มบริโอเจนิคแคลลัสบ่มร่วมกับเชื้อ Agrobacterium tumefaciens EHA 105 pCAMBIA 1301 เป็นเวลา 6 ชั่วโมง เลี้ยงร่วมบนอาหารเพาะเลี้ยง เป็นเวลา 48 ชั่วโมง ส่งเสริมประสิทธิภาพการถ่ายยีนได้ 50 เปอร์เซ็นต์ พบจุดสีน้ำเงิน 8 จุดต่อชิ้นส่วน ดังนั้นสภาวะนี้จึงเป็นสภาวะที่เหมาะสมต่อการถ่ายยีนเข้าสู่เอ็มบริโอเจนิคแคลลัสปาล์มน้ำมันมากที่สุด อย่างไรก็ตามเมื่อนำเอ็มบริโอเจนิคแคลลัสที่สามารถเจริญเติบโตบนอาหารที่มีไฮโกรมัยซินเป็นเวลา 4 สัปดาห์ มาตรวจสอบการมีอยู่ของยีน gus และยีน hpt ด้วยเทคนิค PCR ไม่พบแถบดีเอ็นเอของยีนทั้งสองบนแผ่นเจล
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=13-Potjamarn.pdf&id=569&keeptrack=13
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการถ่ายยีนเข้าสู่ปาล์มน้ำมัน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง