ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | องค์ประกอบทางเคมีและจำนวนจุลินทรีย์ในเปลือกและเมล็ดลำไยหมัก |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | จักรี มีแก้ว |
เจ้าของผลงานร่วม | สมปอง สรวมศิริ , ทองเลียน บัวจูม , ชานนท์ ศรีโรย |
คำสำคัญ | เปลือกและเมล็ดลำไยหมัก;องค์ประกอบทางเคมี;จุลินทรีย์ |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและจำนวนจุลินทรีย์ในเปลือกและเมล็ดลำไยหมัก มี 2 ปัจจัยคือ การเสริมสารช่วย หมัก (ไม่เสริม, เสริมกากน้ำตาล 1.5%, เสริมกากน้ำตาล 1.5%, เสริมกากน้ำตาล 1.5% ร่วมกับใบกระถินแห้ง 5%) และระยะเวลาในการหมัก (0, 7 และ 14 วัน) ผลการศึกษาพบว่า เปลือกและเมล็ดลำไยหมักมีคะแนนประเมินลักษณะทางกายอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีค่า pH เหมาะสม การเสริมสารช่วยหมักและการเพิ่มระยะเวลาในการหมักมีผลให้ %วัตถุแห้ง (DM) ลดลง แต่ค่าเฉลี่ยพลังงานรวม (GE) และ %โปรตีน (CP) เพิ่มขึ้น %เยื่อใยผนังเซลล์ (NDF) พบว่ามีค่าลดลง เมื่อเสริมสารช่วยหมัก แต่ %ลิกนินเซลลูโลส (ADF) มีค่าลดลงตามระยะเวลาในการหมัก จุลินทรีย์ที่ตรวจพบในพืชหมักคือ แบคทีเรียกรดแลคติก ยีสต์ และอีโคไล โดยจำนวนจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นเมื่อมีการใส่สารเสริมช่วยหมัก แต่ลดลงเมื่อระยะเวลาในการหมักนานขึ้น โดยเฉพาะจำนวนอีโคไลลดลง และตรวจไม่พบกลุ่มจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค เช่น ซัลโมเนลล่าร์ (Salmonellar spp.) ในเปลือกและเมล็ดลำไยหมัก |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=1131.pdf&id=780&keeptrack=6 |
สาขาการวิจัย |
|
องค์ประกอบทางเคมีและจำนวนจุลินทรีย์ในเปลือกและเมล็ดลำไยหมัก is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.