ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ผลของแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtilis B006 ในการเคลือบเมล็ด เพื่อควบคุมเชื้อรา Botryosphaeria rhodina สาเหตุโรคยางไหลของแตง
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง กุศล ถมมา
เจ้าของผลงานร่วม พิศาล ศิริธร
คำสำคัญ แบคทีเรียปฏิปักษ์;แบซิลลัส ซับทิลิส;การเคลือบเมล็ด;แตง;Botryosphaeria rhodina
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การศึกษาประสิทธิภาพการเป็นปฏิปักษ์ของแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtilis B006 ต่อเชื้อรา Botryosphaeria rhodina สาเหตุโรคยางไหล (gummosis) จำนวน 14 ไอโซเลต พบว่า แบคทีเรียปฏิปักษ์ B006 มีความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา B. rhodina แบ่งได้เป็น 9 ระดับ เมื่อเลี้ยงแบคทีเรียปฏิปักษ์ B006 ในอาหาร nutrient broth ที่เติมกลูโคส 2% ที่อุณหภูมิ 28°ซ. เป็นเวลา 3, 5, 7 และ 9 วัน จากนั้นหาเปอร์เซ็นต์ การสร้างเซลล์ทนร้อน (heat tolerant cells) โดยจุ่มเชื้อที่เลี้ยงไว้ลงน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 80 °ซ. เป็นเวลา 30 นาที พบว่า ในวันที่ 5 ถึง 7 มีการสร้าง เซลล์ทนร้อนสูงสุดคือ 46 และ 47% ของเซลล์ทั้งหมด เมื่อนำแบคทีเรียปฏิปักษ์ B006 ที่เลี้ยงในอาหารและอุณหภูมิดังกล่าวเป็นเวลา 5 วัน มาผสม เป็นสารเคลือบเมล็ด จำนวน 4 สูตร ได้แก่ BS-coat1, BS-coat2, BS-coat3 และ BS-coat4 เมื่อทดสอบการคงความมีชีวิตและประสิทธิภาพการเป็นปฏิปักษ์ของแบคทีเรีย B006 และผลกระทบของสารเคลือบชีวภัณฑ์ B006 ต่อคุณภาพของเมล็ดหลังการเคลือบโดยเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 °ซ. นาน 4 เดือน พบว่า เมล็ดที่เคลือบด้วยสารเคลือบทั้ง 4 สูตร มีปริมาณแบคทีเรียปฏิปักษ์ B006 ที่ยังคงมีชีวิตอยู่บนผิวเมล็ดแตกต่างกัน
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=07-Kuson.pdf&id=623&keeptrack=15
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


ผลของแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtilis B006 ในการเคลือบเมล็ด เพื่อควบคุมเชื้อรา Botryosphaeria rhodina สาเหตุโรคยางไหลของแตง is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง