การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยตามแนวคิดการสร้างโมเดลภาวะสันนิษฐานสำหรับวินิจฉัยพุทธิปัญญาในกระบวนการพยาบาล
- ศุภามณ จันทร์สกุล
- 432 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ความคิดคล่องแคล่วของเด็กปฐมวัยด้วยการบริหารสมอง |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ชนิสรา ใจชัยภูมิ |
คำสำคัญ | ความคิดคล่องแคล่ว;เด็กปฐมวัย;การบริหารสมอง |
หน่วยงาน | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | การศึกษาความคิดคล่องแคล่วของเด็กปฐมวัย ด้วยการบริหารสมองและเพื่อเปรียบเทียบความคิดคล่องแคล่วของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการบริหารสมอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 4 - 5 ปีกำลังศึกษา อยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนไผทอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจาก 8 ห้องเรียน ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 นาที รวม 40 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แผนกิจกรรมบริหารสมองและแบบทดสอบความคิดคล่องแคล่ว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ t – test สำหรับ Dependent Samples ผลการวิจัยพบว่า ความคิดคล่องแคล่วโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยหลังการทดลองทำบริหารสมองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Chanidsara_J.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
ความคิดคล่องแคล่วของเด็กปฐมวัยด้วยการบริหารสมอง is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.