คำอธิบาย |
การเลี้ยงปลาดุกก่อการตกค้างของธาตุอาหารในบ่อ ทำให้เกิดแพลงก์ตอนพืชและสัตว์จำนวนมาก ข้อมูลปัจจัยคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปลาดุกตั้งแต่เริ่มทำการเลี้ยงจนถึงช่วงเวลาจับปลาขาย เป็นข้อมูลในการจัดวางแผนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดต่อไป การศึกษาพบว่า คุณภาพน้ำในบ่อปลาดุกซึ่งมีการบลูมของแพลงก์ตอนพืชเป็นเวลา 32 สัปดาห์ พบว่า ปริมาณแอมโมเนียไนโตรเจนมีค่าอยู่ในช่วง 1.39 - 23.27 mg/l ปริมาณไนไตรท์ไนโตรเจนมีค่า อยู่ในช่วง 0.006 - 0.661 mg/l ปริมาณไนเตรทไนโตรเจน
มีค่าอยู่ในช่วง 0.13 - 5.55 mg/l และปริมาณออร์โธฟอสเฟตมีค่าอยู่ในช่วง 0.02 - 2.4 mg/l ปริมาณแอมโมเนียไนโตรเจนสูงเกิน เกณฑ์ความเหมาะสมสําหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำตั้งแต่สัปดาห์แรก โดยปริมาณแอมโมเนียไนโตรเจน
ต้องไม่เกิน 0.2 mg/l ปัจจัยคุณภาพน้ำอื่่น คือ อุณหภูมิ, pH, DO, คลอโรฟิลล์ เอ, ค่าความโปร่งแสง, ปริมาณสารแขวนลอยในน้ำ, ค่าความเป็นด่างและค่าความกระด่างของน้ำค่าอยู่ในเกณฑ์ความเหมาะสม ยกเว้น ค่าความนําไฟฟ้าและ ค่า BOD โดยค่าความนําไฟฟ้า คือ 0.97 – 4.60 mS/cm ซึ่งสูงกว่าค่าปกติของแหล่งน้ำคือ 0.01 - 1 mS/cm และ ค่า BOD ในสัปดาห์ที่ 20 คือ 1.46 mg/l/hr สูงกว่าค่าความเหมาะสมที่ 0.5 mg/l/hr |