ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง จลน์ศาสตร์ของการสร้างกรดสำหรับน้ำเสียโปรตีนในถังปฏิกรณ์ซีเอสทีอาร์
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง พชรวรรณ หาญใจ
เจ้าของผลงานร่วม รศ.ดร.เสนีย์ กาญจนวงศ์
คำสำคัญ จลน์ศาสตร์, การหมักกรด, น้ำเสียโปรตีน, ถังปฏิกรณ์ซีเอสทีอาร์, กระบวนการหมักแบบสองขั้นตอน
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาสภาวะที่เหมาะต่อการสร้างกรดและหาค่าทางจลน์ศาสตร์ของกระบวนการหมักกรดสำหรับน้ำเสียโปรตีน โดยทำการศึกษาผลของระยะเวลากักเก็บน้ำ พีเอช และความเข้มข้นน้ำเข้า การทดลองใช้น้ำเสียโปรตีนสังเคราะห์ในถังปฏิกรณ์ซีเอสทีอาร์ขนาด 2 ลิตร น้ำเสียมี 3 ชนิดได้แก่ น้ำเสียโปรตีนเวย์ น้ำเสียโปรตีนสารสกัดจากยีสต์ และน้ำเสียโปรตีนไข่แดง ระยะเวลากักเก็บน้ำที่เหมาะสมต่อการหมักกรดในน้ำเสียโปรตีนเวย์และสารสกัดจากยีสต์คือ 4 ชั่วโมง ขณะที่น้ำเสียไข่แดงพบที่ 24 ชั่วโมงระยะเวลากักเก็บน้ำมีผลต่อกระบวนการหมักกรด ยิ่งใช้ระยะเวลากักเก็บน้อยประสิทธิภาพการหมักกรดจะเพิ่มมากขึ้น จากผลการศึกษาของพีเอชที่ ระยะเวลากักเก็บน้ำที่ 4 ชั่วโมงสภาวะพีเอชที่เหมาะสมต่อการหมักกรดในน้ำเสียโปรตีนทั้ง 3 ชนิด คือไม่มีการปรับพีเอชให้แก่ระบบ ความเข้มข้นของซีโอดีน้ำเข้า (1,000 – 8,000 มก./ล) และอัตราการผสมของสารตั้งต้นมีผลต่อการหมักกกรด น้ำเสียเวย์ถูกหมักกรดดีกว่าน้ำเสียชนิดอื่น ๆ ระบบการดำเนินการที่เหมาะสมต่อการสร้างกรดคือ อัตราส่วนผสม 2 ส่วนผงเวย์: 1 ส่วนผงไข่แดง สมการจากความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ระหว่างกรดไขมันระเหย และอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ได้ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับน้ำเสียเวย์ และน้ำเสียไข่แดงซึ่งแนะนำให้ใช้เป็นแนวทางในการประเมินค่ากรดไขมันระเหยในน้ำทิ้งได้
ข้อมูลเพิ่มเติม www.thai-explore.net
สาขาการวิจัย
  • วิศวกรรมและเทคโนโลยี

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง