- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
- 577 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่ให้เซลลูโลสสูงโดยใช้เทคนิค RAPD |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ณัฐพร บุญเกิด |
เจ้าของผลงานร่วม | จรัสศรี นวลศรี , กิตติ สัจจาวัฒนา |
คำสำคัญ | เครื่องหมายโมเลกุล;ปริมาณเซลลูโลสและค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือนทางพันธุกรรม |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยพะเยา |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | วัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่ให้ปริมาณเซลลูโลสสูง โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลนำพันธุ์ข้าวปลูกและพันธุ์พื้นเมืองทั้งหมด 50 พันธุ์ จากศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีมาปลูกทดสอบ วิเคราะห์ปริมาณเซลลูโลสของฟางข้าว และหา ความแตกต่างของลายพิมพ์ดีเอ็นเอในพันธุ์ข้าวที่ศึกษา โดยหาความสัมพันธ์ระหว่าง marker ที่มีแนวโน้มแยก ความแตกต่างระหว่างพันธุ์ข้าวที่มีปริมาณเซลลูโลสต่างกัน โดยใช้เทคนิค RAPD (Random Amplified Polymorphic DNAs) และนำมาหาค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือนทางพันธุกรรม การคัดเลือกโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลใช้ไพรเมอร์ทั้งหมด 191 ไพรเมอร์ พบว่าไพรเมอร์ OPZ 19 (5’GTGCGAGCCA 3’) แยกความแตกต่างระหว่างพันธุ์ข้าวที่ให้ปริมาณเซลลูโลสเฉลี่ยสูงและต่ำได้ ในการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือนทางพันธุกรรมของข้าว โดยใช้เทคนิค RAPD ใช้ไพรเมอร์ทั้งหมด 7 ไพรเมอร์ โดยให้แถบดีเอ็นเอทั้งหมด 80 แถบ จากการวิจัยในครั้งนี้ได้คัดเลือกข้าวพันธุ์หอมบาง, ลาว ซึ่งให้เซลลูโลสสูง และพันธุ์สามผิว, แตงอ่อน, กล่ำ ที่ให้เซลลูโลสต่ำ เพื่อนำไปหาการแสดงออกของยีนควบคุมปริมาณเซลลูโลสต่อไป และนำไพรเมอร์ที่ได้ไปพัฒนาหาไพรเมอร์ที่จำเพาะต่อปริมาณเซลลูโลส เพื่อใช้เป็น DNA Marker ที่ใช้ในการคัดเลือกต่อไป |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=156-162.pdf&id=982&keeptrack=9 |
สาขาการวิจัย |
|
การคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่ให้เซลลูโลสสูงโดยใช้เทคนิค RAPD is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.