- อิงณภัสร์ วงษ์สิทธิชัย
- 472 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การประเมินประสิทธิภาพของเชื้อ Streptomyces spp. ปฏิปักษ์ในการควบคุมเชื้อรา Colletotrichum capsici สาเหตุโรคแอนแทรกโนสของพริก |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | รัติกาล ยุทธศิลป์ |
เจ้าของผลงานร่วม | เพชรรัตน์ ธรรมเบญจพล |
คำสำคัญ | แอคติโนมัยซีส;การควบคุมโดยชีววิธีและโรคพริก |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | วัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของเชื้อ Streptomyces ปฏิปักษ์ 7 ไอโซเลตได้แก่ –PR13, -PR15, -PR22, -PR33, -PR78, -PR84 และ -PR87 เพื่อนำไปใช้ควบคุมโรคแอนแทรกโนสของพริกโดยชีววิธี ดำเนินการแยกเชื้อสปอร์เดี่ยวจากตัวอย่างผลพริกเป็นโรค ที่เก็บรวบรวมได้จากแหล่งปลูกแล้วนำมาทดสอบกับเชื้อ Streptomyces ปฏิปักษ์ โดยวิธี dual culture พบว่าเชื้อ Streptomyces ทุกไอโซเลตยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา C. capsici ทั้ง 18 ไอโซเลตได้อย่างชัดเจน แตกต่างไปตามไอโซเลตของเชื้อและชนิดอาหารที่ใช้เพาะเลี้ยงทดสอบ โดย Streptomyces-PR22 สร้างแนวยับยั้งการเจริญของเส้นใย C. capsici ได้กว้างมากที่สุด เมื่อทดสอบร่วมกับ Streptomyces ปฏิปักษ์นานได้ 14 วัน ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ พบว่า มีลักษณะผิดปกติไป โดย secondary metabolites จาก Streptomyces PR-13,-PR15, - PR33, -PR84 และ -PR87 ทำให้เกิดการบวมพองของเส้นใย ส่วน Streptomyces PR-22 ทำให้เส้นใยบวมพอง และแตกหักเสียหาย ในขณะที่ Streptomyces PR-78 ทำให้เส้นใยบวมพองและบิดงอ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=224-232.pdf&id=992&keeptrack=7 |
สาขาการวิจัย |
|
การประเมินประสิทธิภาพของเชื้อ Streptomyces spp. ปฏิปักษ์ในการควบคุมเชื้อรา Colletotrichum capsici สาเหตุโรคแอนแทรกโนสของพริก is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.