ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การจัดจำแนกชนิดของไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne) ในพื้นที่เพาะปลูกในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง สุรศักดิ์ แสนโคตร
เจ้าของผลงานร่วม อนันต์ หิรัญสาลี , เพชรรัตน์ ธรรมเบญจพล
คำสำคัญ พืชทดสอบจำเพาะ;รูปแบบรอยย่นส่วนก้นและ;ไส้เดือนฝอยรากปม
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบวิธีการจัดจำแนกที่เหมาะสม และการจำแนกชนิดของไส้เดือนฝอยรากปม ในพื้นที่เพาะปลูกบางจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำตัวอย่างดินจาก 9 จังหวัด มาเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณไส้เดือนฝอยรากปมได้ 30 ประชากร เมื่อนำไปตรวจสอบชนิดโดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของรูปแบบรอยย่นส่วนก้นของตัวเต็มวัยเพศเมีย จากรากปมของมะเขือเทศที่ได้รับกลุ่มไข่เดี่ยวของไส้เดือนฝอย สามารถจัดจำแนกได้เป็น Meloidogyne incognita และ M. javanica โดยมี 25 ประชากรเป็น M. incognita เพียงชนิดเดียว, 2 ประชากรเป็น M. javanica เพียงชนิดเดียว และ 3 ประชากรเป็นประชากรผสมระหว่าง 2 ชนิด โดยมีสัดส่วนของ M. incognita มากกว่า (71-83%) และเมื่อนำทั้ง 30 ประชากรไปทดสอบกับ พืชทดสอบจำเพาะเพื่อการจัดจำแนกชนิด โดยปลูกเชื้อด้วยไข่ไส้เดือนฝอยปริมาณ 5,000 ฟอง/ต้น กับพืชทดสอบ 8 สายพันธุ์ที่ปลูกในดินฆ่าเชื้อ ผลการศึกษาสรุปได้ว่า การใช้รูปแบบรอยย่นส่วนก้นเป็นการใช้เพื่อจัดจำแนกชนิดเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนการใช้พืชทดสอบจำเพาะเป็นการยืนยันผล การจำแนกชนิดของวิธีแรก และสามารถจำแนกได้ถึงระดับ race ของไส้เดือนฝอยรากปม จากพืชทดสอบ 8 สายพันธุ์ ที่ทดสอบความเหมาะสมที่จะใช้เป็นพืชทดสอบจำเพาะ พบว่าเฉพาะฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า 2 ที่ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้เนื่องจากให้ปฏิกิริยาต่างจากพืชทดสอบมาตรฐาน
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=250-258.pdf&id=995&keeptrack=13
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การจัดจำแนกชนิดของไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne) ในพื้นที่เพาะปลูกในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง