ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์เสริมกระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติก เพื่อสร้างห้องเรียนสำหรับเด็กออทิสติกแนวใหม่
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปัณรสี ฤทธิประวัติ
คำสำคัญ เด็กออทิสติก;หุ่นยนต์เสริมกระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติก;ห้องเรียนสำหรับเด็กออทิสติก
หน่วยงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ปีที่เผยแพร่ 2558
คำอธิบาย งานวิจัยนี้มุ่งพัฒนาต้นแบบของห้องเรียนแนวใหม่สำหรับศูนย์การศึกษาพิเศษ โดยมีการใช้หุ่นยนต์เสริมการกระตุ้นพัฒนาการในการจัดการเรียนการสอน หุ่นยนต์นี้ไม่เพียงแต่จะใช้งานได้ทั้งกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษแต่ยังสามารถใช้งานได้กับเด็กที่มีความบกพร่องด้านต่างๆ เช่น ดาวน์ซินโดรม บกพร่องด้านการเรียนรู้ เป็นต้น จากผลการใช้งานห้องเรียนแนวใหม่ พบว่า เด็กๆในศูนย์การศึกษาพิเศษ ซึ่งมีความผิดปกติหลากหลาย มีพัฒนาการล่าช่า นั้นส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการที่ดีขึ้น โดยจำเป็นต้องให้การฝึกอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ โดยพัฒนาการที่ดีขึ้นสามารถสังเกตได้จากการให้ความร่วมมือในการฝึกกับหุ่นยนต์ การปฎิบัติตามหุ่นยนต์ การแสดงออกของพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ลดลง สามารถออกเสียงได้มากขึ้น และเลียนแบบท่าทางหุ่นยนต์ได้เพิ่มขึ้น เด็กบางคนสามารถไปเข้าเรียนในโรงเรียนร่วมได้ ปัจจุบันหุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปใช้ได้ทั้งเด็กในกลุ่ม low-functioning และกลุ่ม high-functioning โดยเด็กในกลุ่ม low-functioning จะสามารถฝึกได้กับโปรแกรมการเลียนแบบท่าทาง ส่วนในกลุ่ม high-functioning นั้นสามารถฝึกได้ทั้งโปรแกรมการเลียนแบบท่าทางและโปรแกรมการฝึกพูด
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ ด้านวิชาการ
สาขาการวิจัย
  • วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง