- นายชวลิต จริงจิตร
- 1272 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | แนวทางการพัฒนาศักยภาพอาหารพื้นเมืองจังหวัดภูเก็ต |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | พลอยชมพู เลื่อนฉวี |
เจ้าของผลงานร่วม | - |
คำสำคัญ | การพัฒนาศักยภาพอาหารพื้นเมือง;อาหารพื้นเมืองภูเก็ต |
หน่วยงาน | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นเกี่ยวกับอาหารพื้นเมืองภูเก็ต เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านอัตลักษณ์ของอาหารพื้นเมือง คุณภาพของอาหาร ลักษณะร้านอาหารพื้นเมือง ความคุ้มค่าของราคา และลักษณะของผู้ให้บริการ ด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารพื้นเมือง นักท่องเที่ยวรับประทานอาหารช่วงกลางวันมากที่สุด รับประทานอาหารเฉลี่ย 2 ครั้ง/วัน รับประทานกับครอบครัว ทราบข้อมูลจากครอบครัว/ญาติพี่น้องและอิทธิพลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารพื้นเมืองคือครอบครัว และนักท่องเที่ยวชอบบริโภคอาหารประเภทแกง ในระดับที่น้อยที่สุด นักท่องเที่ยวมีความเห็นว่า ควรสร้างจุดเด่นของรสชาติเป็นรสจัดแบบอาหารดั้งเดิม ความเป็นกลิ่นอายของความเป็นอาหารพื้นเมืองภูเก็ต อาหารควรสะอาด สร้างอัตลักษณ์รสชาติของอาหาร เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและจัดตกแต่งชุดอาหาร ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้กับกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง การประชาสัมพันธ์อาหารพื้นเมืองให้กับนักท่องเที่ยวผ่านสื่อต่าง ๆ การลงโฆษณาทางอินเตอร์เน็ต โซเซียลมีเดีย การจัดโครงการ Street Food Phuket การจัดทำแอพพลิเคชั่นรวบรวมร้านอาหารเพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงได้ง่ายขึ้น |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://tour.nida.ac.th/wp-content/uploads/2017/05/Ploychompoo_phuketfood.pdf |
สาขาการวิจัย | - |
แนวทางการพัฒนาศักยภาพอาหารพื้นเมืองจังหวัดภูเก็ต is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.