ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ข้าวก่ำดอยสะเก็ด ผลผลิตงานวิจัย มช. มีประโยชน์ต่อสุขภาพ หนุนเกษตรกรปลูก
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ดำเนิน กาละดี
คำสำคัญ ข้าวก่ำดอยสะเก็ด;พันธุกรรมข้าวก่ำ
หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย “ข้าวก่ำ” เป็นการเรียกตามลักษณะสีของเมล็ดที่มีสีแดงเข้ม หรือ “แดงก่ำ” ซึ่งข้าวก่ำนั้นถือได้ว่ามีคุณค่าทางสมุนไพรหรือความเป็นยาของข้าวก่ำที่ชาวเหนือดั้งเดิมหรือชาวล้านนาได้คิดค้นปรากฏชัดเจนในวัฒนธรรมข้าวชาวเหนือ สำหรับพันธุ์ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ข้าวก่ำดอยสะเก็ด เนื่องจากมีสารที่เป็นประโยชน์ คือ แกมมาโดไรซานอลสูงกว่าข้าวขาว 2-3 เท่า และยังมีสารสีที่พบในข้าวก่ำ คือ โปรแอนโทไซยานิดิน และสารแอนโทไซยานิน และมีวิตามินอี ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในระดับที่สูง ซึ่งสารกลุ่มนี้มีสูงกว่าในข้าวทั่วไป จึงเหมาะแก่ผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย ซึ่งปัจจุบันทางคณะวิจัยสามารถรวบรวมพันธุกรรมข้าวก่ำพื้นเมืองได้ 42 พันธุกรรม จากแหล่งปลูกข้าวทั่วประเทศไทย ทั้งในสภาพของข้าวนาดำ และข้าวไร่
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.technologychaoban.com/news-slide/article_88867
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


ข้าวก่ำดอยสะเก็ด ผลผลิตงานวิจัย มช. มีประโยชน์ต่อสุขภาพ หนุนเกษตรกรปลูก is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง