ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ผลของการฟื้นฟูป่าต่อการอนุรักษ์พันธุกรรมของพืชก่อหมูดอย ก่อใบเลื่อม และก่อนกในจังหวัดเชียงใหม่ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | พัชราวดี ทองคำคูณ |
คำสำคัญ | พรรณไม้โครงสร้าง การฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ความหลากหลายทางพันธุกรรม เครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ |
หน่วยงาน | ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | พัฒนาไมโครแซทเทลไลท์ไพรเมอร์ จำนวน 13 คู่ไพรเมอร์จากข้อมูล Whole genome sequence ของก่อใบเลื่อม เพื่อนำมาใช้ในการศึกษาข้อมูลทางด้านพันธุศาสตร์ประชากรของพืชสกุลก่อ 3 ชนิด คือ ก่อใบเลื่อม ก่อหมูดอย และก่อนก ซึ่งเป็นพรรณไม้โครงสร้างสำหรับการฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมอันเนื่องมาจากการเกษตรที่บ้านแม่สาใหม่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ นำข้อมูลทางพันธุศาสตร์มาใช้บ่งบอกศักยภาพของวิธีการเก็บเมล็ดจากต้นแม่ และวิเคราะห์ข้อมูลความหลากหลายทางพันธุกรรม และโครงสร้างพันธุศาสตร์ประชากรระหว่างต้นกล้าในพื้นที่ฟื้นฟูว่ามีค่าใกล้เคียงกับพื้นที่ป่าธรรมชาติ และเพื่อนำไปใช้ในการศึกษาข้อมูลทางพันธุกรรมของก่อชนิดอื่นๆ |
สาขาการวิจัย |
|