ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง dpaDNN: สถาปัตยกรรมของโครงข่ายประสาทเทียมแบบลึกแบบกระจายการประมวลผลและไปป์ไลน์ และการประยุกต์ใช้ในงานรักษาความปลอดภัย
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง วัฒนพงศ์ เกิดทองมี
คำสำคัญ dpaDNN;สถาปัตยกรรมของโครงข่ายประสาทเทียม;งานรักษาความปลอดภัย
หน่วยงาน สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย โปรแกรมตรวจจับและระบุตำแหน่งของวัตถุในรูปภาพจากวิดีทัศน์ต้องใช้กำลังการประมวลผลของคอมพิวเตอร์สูงมากและไม่อาจประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้ ผู้ประดิษฐ์ได้พัฒนาสถาปัตยกรรม dpaDNN ที่สามารถเร่งการประมวลผลการตรวจจับและระบุตำแหน่งของวัตถุในรูปภาพโดยกระจายการประมวลผลไปยังตัวประมวลผลย่อย และส่งผ่านผลลัพธ์ระหว่างกันโดยใช้ไปป์ไลน์เพื่อให้เกิดการไหลของผลลัพธ์ระหว่างการประมวลผลอย่างต่อเนื่อง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สร้างจากสถาปัตยกรรม dpaDNN สามารถประมวลผลได้ด้วยอัตราเร็วสูงถึง 13 เฟรมต่อวินาที (เพิ่มขึ้นประมาณ 9 เท่าเมื่อเทียบกับโปรแกรมเดิม) เมื่อทำงานบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ไร้ตัวเร่งการประมวลผล ผลที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานรักษาความปลอดภัย
สาขาการวิจัย
  • วิศวกรรมและเทคโนโลยี
Creative Commons License


dpaDNN: สถาปัตยกรรมของโครงข่ายประสาทเทียมแบบลึกแบบกระจายการประมวลผลและไปป์ไลน์ และการประยุกต์ใช้ในงานรักษาความปลอดภัย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง