- สุกฤตา หิรัณยชวลิต
- 280 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การวิเคราะห์ตระกูลภาพยนตร์ไทยที่นำเสนอสภาวะ ความแปลกแยกในสังคม (พ.ศ. 2550-2559) |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | เมธญา ล้อมวงศ์ |
เจ้าของผลงานร่วม | สมสุข หินวิมาน |
คำสำคัญ | ตระกูลภาพยนตร์;ภาพยนตร์นอกกระแส;ภาพยนตร์กระแสหลัก;ความแปลกแยก |
หน่วยงาน | คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีการศึกษาและทำความเข้าใจโดยมุ่งวิเคราะห์ที่ตัวสาร(Textual Analysis) ซึ่งใช้แนวคิดเรื่อง “ความแปลกแยก” (Alienation)และแนวคิดเรื่อง “ตระกูลภาพยนตร์” (Film Genre)ควบคู่กับศึกษาเอกสาร(Document Analysis) เพื่อเป็นแนวทางในการเข้าสู่ปัญหาทำวิจัยและศึกษารูปแบบความแปลกแยกในภาพยนตร์ไทย ทั้งภาพยนตร์กระแสหลักและภาพยนตร์นอกกระแสการวิจัยได้ทราบถึงสภาวะความแปลกแยกที่ปรากฏในสังคม ได้แบ่งข้อค้นพบจากกรณีศึกษาภาพยนตร์ตระกูลแปลกแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกการวิเคราะห์ตระกูลภาพยนตร์แปลกแยก กรณีศึกษาภาพยนตร์กระแสหลัก ผู้วิจัยได้พบอุดมการณ์เรื่องการมีความรักเพื่อกำจัดความแปลกแยก โดยภาพยนตร์ทุกเรื่องได้นำเสนอตัวละครที่ตกอยู่ในสภาวะแปลกแยก และนำเสนอการมีความรักเป็นวิธีที่ใช้กำจัดความแปลกแยกที่เกิดขึ้น ส่วนที่สอง การวิเคราะห์ตระกูลภาพยนตร์แปลกแยก กรณีศึกษาภาพยนตร์นอกกระแส ผู้วิจัยได้พบอุดมการณ์เรื่องการมีความรักเพื่อกำจัดความแปลกแยก เช่นเดียวกับภาพยนตร์กระแสหลัก แต่ในส่วนของการนำเสนอทางเลือกวิธีจัดการกับความแปลกแยกพบว่าหลากหลายกว่า ทั้งการยอม เปลี่ยนแปลงตนเองเพื่อให้สามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5707010053_7055_5104.pdf |
สาขาการวิจัย | - |
การวิเคราะห์ตระกูลภาพยนตร์ไทยที่นำเสนอสภาวะ ความแปลกแยกในสังคม (พ.ศ. 2550-2559) is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.