- นางสาวสุทธิกานต์ ศรีสดสุข
- 346 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การสร้างผักพื้นบ้านให้เป็นสแน็คสุขภาพ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | นนทลี บุญทัด การุณยศิริ |
เจ้าของผลงานร่วม | วารุณี บุญทัด , วุฒิศาสตร์ คำคม , เกษสิริ ศักดานเรศวร์ , บุญตา ช่วยมาก |
คำสำคัญ | สแน็คสุขภาพ;ผักพื้นบ้าน |
หน่วยงาน | คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์หันตรา |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | กลุ่มคัดเลือกผักพื้นบ้านกินได้เพื่อทำสแน็คสุขภาพ ได้แก่ กระถิน ข่า ชะพลู ตำลึง บัวบก ผักชีฝรั่ง ผักโขม ผักแพว ผักเป็ดแดง พริก มะรุม ย่านาง ยี่หร่า ทองหลาง และ โสน แปรรูปเป็นสแน็คสุขภาพรสธรรมชาติ ได้แก่ การทอด การอบ การต้มทำเป็นก้อนแล้วชุบแป้งทอด และการชุบแป้งทอดกรอบ จากนั้นประชุมกลุ่มเพื่อคัดเลือกผักกินใบเพียง 5 ชนิด เพื่อทำแน็คสุขภาพรสธรรมชาติ ได้ใบผักพื้นบ้าน คือ ใบชะพลู ใบผักโขม ใบผักแพว ใบพริก ใบย่านาง เนื่องจากมีรสชาติดีและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว และรูปแบบการแปรรูปคือ การชุบแป้งทอดกรอบ จากนั้นพัฒนารสชาติสแน็คสุขภาพจากรสธรรมชาติเป็นรสชาติต่าง ๆ ได้แก่ รสต้มยำ รสลาบ รสแกงส้ม รสพะแนง รสวาซาบิ รสปาปริก้า และรสบาบิคิว ประชุมกลุ่ม ครั้งที่ 2 เพื่อคัดเลือกรสชาติที่อร่อยและเหมาะสมกับผักพื้นบ้านที่สุดเพียง 3 รส พิจารณาจากรสชาติ ความอร่อย กลิ่น และความชอบจากการแปรรูปผักพื้นบ้าน ผลสรุปภาพรวมจากรสชาติความอร่อย กลิ่นหอม และความชอบ คือ รสปาปริก้าได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับแรก อันดับสองคือรสบาบิคิว และอันดับสามคือรสลาบ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://research.rmutsb.ac.th/fullpaper/2556/2556239509735.pdf |
สาขาการวิจัย | - |
การสร้างผักพื้นบ้านให้เป็นสแน็คสุขภาพ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.