ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง กิจกรรมของซุปเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทสในวงจรการลอกคราบ ของปูทะเล
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง รพีพร ฤกษพุฒิ
เจ้าของผลงานร่วม จินตนา สและน้อย
คำสำคัญ ซุปเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส;การลอกคราบ;ปูทะเล
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การศึกษากิจกรรมของเอนไซม์ซุปเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทสในปูทะเลจำนวน 12 ระยะ (ระยะปูปกติ ระยะก่อนลอกคราบ 3 ระยะ และระยะหลังลอกคราบ 8 ระยะ) ตลอดวงจรการลอกคราบ พบว่า กิจรรมของซุปเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส ใน เฮพาโตแพนเครียส เหงือก เนื้อเยื่อใต้กระดอง และฮีโมลิมป์ มีค่าอยู่ในช่วง 5.25 ± 1.46 ถึง 52.56 ± 17.05, 8.67 ± 1.33 ถึง 29.52 ± 9.53, 2.48 ± 0.49 ถึง 14.14 ± 7.25 และ 0.53 ± 0.16 ถึง 1.20 ± 0.37 ยูนิต/มิลลิกรัมโปรตีน โดยค่ากิจกรรมสูงสุดพบในเฮพาโตแพนเครียส และเนื้อเยื่อใต้กระดองของปูระยะกระดองแข็งปกติ ในขณะที่กิจกรรมที่พบในฮีโมลิมป์ และเหงือกมีค่าสูงสุดในระยะหลังลอกคราบ 6 และ 12 ชั่วโมง ซึ่งซุปเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทสมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดซุปเปอร์ออกไซด์แอนไอออน ที่ได้จากเมทาบอลิซึมและขบวนการหายใจ ผลงานวิจัยแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกิจกรรมของเอนไซม์ที่ส่งผลต่อเมทาบอลิซึม และระบบภูมิคุ้มกันของปูทะเลในระยะต่าง ๆ ตลอดวงจรการลอกคราบ
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=06-Jintana.pdf&id=1066&keeptrack=6
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


กิจกรรมของซุปเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทสในวงจรการลอกคราบ ของปูทะเล is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง