ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ลักษณะซาก คุณภาพเนื้อ และความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อเนื้อโคนมเพศผู้และโคกำแพงแสนเพศผู้ขุน
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง คงปฐม กาญจนเสริม
เจ้าของผลงานร่วม ภูมพงศ์ บุญแสน , อัญชลี คงประดิษฐ์ , ชนณภัส หัตถกรรม , สุริยะ สะวานนท์
คำสำคัญ โคนมเพศผู้;โคกำแพงแสน;คุณภาพซาก;คุณภาพเนื้อ;ความพึงพอใจของผู้บริโภค
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การเปรียบเทียบลักษณะซาก คุณภาพเนื้อโคนมลูกผสมพันธุ์โฮสไตน์ฟรีเชี่ยนกับเนื้อโคกำแพงแสนเพศผู้ตอน จำนวนสายพันธุ์ละ 15 ตัว (รวม 30 ตัว) ที่ทำการเลี้ยงขุนด้วยอาหารผสมครบส่วนที่มีอาหารข้น (14 เปอร์เซ็นต์โปรตีน) และมีต้นข้าวโพดหรือหญ้าเนเปียร์หมักเป็นแหล่งของอาหารหยาบในสัดส่วน 80 ต่อ 20 เปอร์เซ็นต์วัตถุแห้ง จนกระทั่งโคอ้วนสมบูรณ์เต็มที่และมีน้ำหนักตัวมากกว่า 600 กิโลกรัม พบว่า เปอร์เซ็นต์ซากอุ่น เปอร์เซ็นต์ซากเย็น และพื้นที่หน้าตัดเนื้อสันนอกของโคกำแพงแสนมีค่าเฉลี่ยมากกว่าโคนมเพศผู้ขุน แต่โคกำแพงแสนมีเปอร์เซ็นต์หัวใจ ไต ปอด และกระเพาะทั้งสี่ส่วนน้อยกว่าโคนมเพศผู้ โคนมเพศผู้ขุนมีปริมาณไขมันแทรกในกล้ามเนื้อสันนอกและมีค่าการสูญเสียน้ำหนักในระหว่างการปรุง และมีค่าแรงตัดผ่านเนื้อน้อยกว่าโคกำแพงแสน และเมื่อทดสอบความพึงพอใจของผู้บริโภคพบว่า ในเนื้อสดผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความพึงพอใจกับเนื้อโคนมเพศผู้ขุน (62.12 %) มากกว่าเนื้อโคกำแพงแสน (37.88 %) ส่วนเนื้อย่างผู้บริโภคมีความพึงพอใจกับเนื้อโคนมเพศผู้ขุน (59.51 %) มากกว่าเนื้อโคกำแพงแสน (40.49 %)
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/197754/137686
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


ลักษณะซาก คุณภาพเนื้อ และความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อเนื้อโคนมเพศผู้และโคกำแพงแสนเพศผู้ขุน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง