ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การใช้ exogenous fibrolytic enzyme เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์ได้ของสิ่งเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมผลิตกรดซิตริกในโคเนื้อคัดทิ้ง
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ชานนท์ สุนทรา
เจ้าของผลงานร่วม สุทธิพงศ์ อุริยะพงศ์สรรค์
คำสำคัญ สิ่งเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมผลิตกรดซิตริก;เอนไซม์;โคเนื้อคัดทิ้ง;ลักษณะซาก
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การศึกษาผลของการใช้สิ่งเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมผลิตกรดซิตริก หมักด้วยเอนไซม์ย่อยเยื่อใยผสมในสูตรอาหารข้นต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต และลักษณะซากของโคพื้นเมืองเพศเมียคัดทิ้ง จำนวน 16 ตัว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ให้อาหารข้นที่มีพลังงาน 2.8 Mcal/kgDM โปรตีน 12 เปอร์เซ็นต์ ตามความต้องการของโค อาหารข้นมีส่วนผสมของสิ่งเหลือทิ้งฯ ผ่านการหมัก ที่อุณหภูมิสิ่งแวดล้อม 28 องศาเซลเซียส (อุณหภูมิใจกลางถังหมักประมาณ 36 องศาเซลเซียส) ด้วยเอนไซม์ย่อยเยื่อใย หลังการหมักตากสิ่งเหลือทิ้งฯ ให้แห้งแล้วผสมในสูตรอาหารข้นทดแทนข้าวโพดที่ระดับ 0, 10, 20 และ 30 เปอร์เซ็นต์ ให้อาหารข้นและฟางข้าวแบบเต็มที่ บันทึกข้อมูลการกินได้และสมรรถนะการเจริญเติบโต ทำการเลี้ยงโคนาน 120 วัน เมื่อครบระยะเวลานำโคเข้าฆ่าโดยมีการตัดแต่งซากแบบไทย บันทึกน้ำหนักก่อนฆ่า องค์ประกอบซาก (เนื้อแดง เนื้อสันนอก เนื้อสันในฯ) องค์ประกอบของร่างกาย (โครงกระดูก หัวฯ) เพื่อประเมินน้ำหนักซากอุ่น เปอร์เซ็นต์ซาก วัดความหนาไขมัน สันหลังและพื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน ผลการศึกษาพบว่า สมรรถนะด้านการเจริญเติบโตมีค่าใกล้เคียงกันในแต่ละกลุ่ม การใช้สิ่งเหลือทิ้งฯ หมักที่ระดับ 10 เปอร์เซ็นต์ ในสูตรอาหารช่วยเพิ่มน้ำหนักซากอุ่นได้ แต่การเสริมสิ่งเหลือทิ้งฯ ในสูตรอาหารทำให้ปริมาณเนื้อสันนอกลดลง ลักษณะซากอื่น ๆ นอกจากนี้มีค่าใกล้เคียงกัน
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=373.pdf&id=704&keeptrack=8
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การใช้ exogenous fibrolytic enzyme เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์ได้ของสิ่งเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมผลิตกรดซิตริกในโคเนื้อคัดทิ้ง is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง