ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ผลของการเสริมกากเม่าต่อปริมาณการกินได้และการย่อยได้ของโภชนะในแพะ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ดนุพล สุพรรณภูวงษ์ |
เจ้าของผลงานร่วม | อุไร นนท์อาษา , เสมอใจ บุรีนอก , ไกรสิทธิ วสุเพ็ญ , ศศิพันธ์ วงศ์สุทธาวาส , ปราโมทย์ แพงคำ , ฉลอง วชิราภากร , เมธา วรรณพัฒน์ , เฉลิมพล เยื้องกลาง |
คำสำคัญ | กากเม่า;ปริมาณการกินได้;การย่อยได้ของโภชนะ;จุลินทรีย์โปรตีน |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | แพะลูกผสมพันธุ์พื้นเมือง x พันธุ์แองโกลนูเปี้ยนเพศผู้ จำนวน 3 ตัว น้ำหนักเฉลี่ย 18.2±3 กิโลกรัม ถูกจัดเข้าแผนการทดลองแบบ 3x3 Latin Square design โดยมี 3 ทรีตเมนต์ คือ ทรีตเมนต์ที่ 1 กลุ่มควบคุม ทรีตเมนต์ที่ 2 เสริมกากเม่าสด และทรีตเมนต์ที่ 3 เสริมกากเม่าแห้ง โดยมีระยะเวลาทดลองทั้งสิ้น 3 ระยะการทดลอง ระยะการทดลองละ 28 วัน เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่า การเสริมกากเม่าสดทำให้การกินได้ของอาหารลดลง แต่การกินได้ของแพะในกลุ่มควบคุมและกลุ่มเสริมกากเม่าแห้งไม่แตกต่างกัน การเสริมกากเม่าทั้งสดและแห้งช่วยเพิ่มการย่อยได้วัตถุแห้งและเยื่อใย NDF ส่วนการย่อยได้ของอินทรียวัตถุ โปรตีน ไขมัน และเยื่อใย ADF แตกต่างกัน การกินได้ของโภชนะที่ย่อยได้ในกลุ่มที่เสริมในรูปกากแห้งมีค่าสูงกว่ากลุ่มที่เสริมในรูปกากเม่าสด การคำนวณหาจุลินทรีย์โปรตีน พบว่าการเสริมในรูปกากเม่าแห้งจะมีค่า MCP สูงกว่าการเสริมในรูปกากเม่าแห้ง จากการศึกษาสามารถสรุปได้ว่าการเสริมกากเม่าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในการใช้ประโยชน์จากอาหารของแพะให้ดีขึ้น |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=491.pdf&id=716&keeptrack=17 |
สาขาการวิจัย |
|
ผลของการเสริมกากเม่าต่อปริมาณการกินได้และการย่อยได้ของโภชนะในแพะ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.