ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารอิ่มนาน |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | มัลลิกา อุปอินทร์ |
เจ้าของผลงานร่วม | รุ่งฤดี ชนูดหอม , สุรกัญญา ใจยงค์ |
คำสำคัญ | อาหารอิ่มนาน;คาร์โบไฮเดรต;โปรตีน;ข้าวเหนียวหมูปิ้ง |
หน่วยงาน | คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | ผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารอิ่มนานสูตรต้นแบบประกอบด้วยเนื้อหมูบด, มันฝรั่งต้ม, แป้งข้าวเหนียว, แครอท, ผงสับปะรด, ข้าวโอ๊ตและเกลือ คิดเป็นร้อยละโดยน้ำหนัก 56.0, 28.0, 4.6, 9.0, 1.0, 1.0 และ 0.4 ตามลำดับ นำไปศึกษาระยะเวลาที่ทำให้ผู้ทดสอบชิมมีความอิ่มท้องโดยเปรียบเทียบกับอาหารควบคุม (ข้าวเหนียวหมูปิ้ง) พบว่า ระยะเวลาหลังจากที่ผู้ทดสอบรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารอิ่มนานและอาหารควบคุม เริ่มรู้สึกหิวอีกครั้งเฉลี่ยคือ 126.4±12.87 และ102.6±10.25นาที ตามลำดับ และพบว่า อาหารอิ่มนานมีผลต่อระยะเวลาที่เริ่มรู้สึกหิวอีกครั้งของผู้ทดสอบที่มีนํ้าหนักน้อยกว่า 50 กิโลกรัม ดังนั้นผลิตภัณฑ์อาหารอิ่มนานสูตรต้นแบบมีศักยภาพทําให้ผู้ทดสอบอิ่มได้นานกว่าอาหารควบคุมถึง 23.8±2.62 นาที และการหาปริมาณของสารประกอบหลักในอาหารของผลิตภัณฑ์อาหารอิ่มนานและอาหารควบคุม พบว่า ผลิตภัณฑ์อาหารอิ่มนานมี ปริมาณโปรตีน, ไขมัน, ความชื้น, เยื่อใยและเถ้ามากกว่าอาหารควบคุม โดยมีปริมาณคาร์โบไฮเดรต , โปรตีน, ไขมัน, ความชื้น, เยื่อใยและเถ้าเฉลี่ย 19.14±1.89, 19.29±0.75, 26.64±0.53, 27.53±0.15, 3.97±0.54 และ 3.43±0.04 ตามลําดับ จากการศึกษาข้อมูลพบว่า มีงานวิจัยที่ศึกษาในด้านของความอิ่มท้องของวัตถุดิบในเชิงเดี่ยว แต่ด้านของความอิ่มท้องของผลิตภัณฑ์ยังมีการศึกษาที่น้อยมาก ดังนั้นทีมวิจัยจึงมีความสนใจจัดทํางานวิจัยนี้ขึ้น |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://www.agro.cmu.ac.th/agro60/school/fst/601499/research_exercise_journal/file_upload/551310051.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารอิ่มนาน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.