ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมเชิงบูรณาการต่อสรีรวิทยาการปรับตัวการทนทานต่อความร้อนและสมรรถภาพการผลิตโคพื้นเมืองไทย ภายใต้สภาวะโลกร้อนในระดับชุมชน
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง หาญชัย อัมภาผล
เจ้าของผลงานร่วม ชุมพล ทรงวิชา , ธราดล จิตจักร , อโณทัย แพทย์กิจ , เจษฎา ศรีพันดอน
คำสำคัญ การเปลี่ยนแปลงเชิงสรีรวิทยา;ความเครียดจากความร้อน;พฤติกรรมสวัสดิภาพสัตว์;การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมเชิงบูรณาการ;สมรรถภาพการผลิตโคพื้นเมืองไทย
หน่วยงาน คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคพื้นเมืองไทย และถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมเชิงบูรณาการต่อสรีรวิทยาการปรับตัว การทนทานต่อความร้อนและสมรรถภาพการผลิตภายใต้สภาวะโลกร้อนในระดับชุมชน โดยใช้ฟาร์มเกษตรกรเป็นฐานพบว่า โรงเรือนเมื่ออุณหภูมิสภาพแวดล้อมสูงขึ้นจะมีผลกระทบทำให้ดัชนีอุณหภูมิ-ความชื้นสัมพัทธ์ (THI) ภายในโรงเรือนสูงขึ้น สภาพโรงเรือนหลังคา 2 ชั้นจะมีผลกระทบน้อยกว่า การทดลองด้านอาหาร โดยการผสมกากเมล็ดยางพารา กากเนื้อในเมล็ดปาล์ม และเมล็ดฝ้ายในสูตรอาหารในระดับ 15 เปอร์เซ็นต์ พบการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ได้แก่ อุณหภูมิทวารหนัก อัตราการเต้นของชีพจร อัตราการหายใจ สัมประสิทธิ์การทนทานความร้อน อัตราการขับเหงื่อและปริมาณการดื่มน้ำพฤติกรรมสวัสดิภาพสัตว์ ได้แก่ การเคี้ยวเอื้อง การหอบหายใจ การลุกยืน และเดินไปดื่มน้ำ การนอนพักผ่อน ค่าโลหิตวิทยา ได้แก่ ฮีมาโตคริต ฮีโมโกลบิน กลูโคสในเลือด และไนโตรเจนในเลือด ระดับฮอร์โมน คอร์ติซอล และสมรรถภาพในการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกัน ทีมวิจัยได้พัฒนาระบบการผลิตโคพื้นเมือง ได้แก่ การสร้างองค์ความรู้ให้เกษตรกร การพัฒนาโรงเรือนที่เหมาะสมในสภาพภาวะโลกร้อน การพัฒนาวัตถุดิบอาหารสัตว์ในท้องถิ่น เช่น กากเมล็ดยางพารา กากเนื้อในเมล็ดปาล์ม และเมล็ดฝ้าย
ข้อมูลเพิ่มเติม https://doi.nrct.go.th//ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/SNRU.res.2014.6
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมเชิงบูรณาการต่อสรีรวิทยาการปรับตัวการทนทานต่อความร้อนและสมรรถภาพการผลิตโคพื้นเมืองไทย ภายใต้สภาวะโลกร้อนในระดับชุมชน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.