ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การลดต้นทุนการผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดบูรณาการร่วมกับเทคนิคการทำนาแบบชาวนาเงินล้าน
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.แสงดาว แลนรอด (เขาแก้ว)
เจ้าของผลงานร่วม แรงราม พลจันทร์ , ชัยพร พรหมพันธุ์
คำสำคัญ การผลิตข้าว;ปุ๋ยสั่งตัด;ข้าว
หน่วยงาน ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
ปีที่เผยแพร่ 2560
คำอธิบาย เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ในการลดต้นทุนในการผลิตข้าวเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับระบบนิเวศ จึงได้นำองค์ความรู้เรื่องการจัดการปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ตามเทคโนโลยี “ปุ๋ยสั่งตัด” และเทคนิคการทำนำบางประการแบบชัยพร พรหมพันธุ์ หรือ “ชาวนาเงินล้าน” มาบูรณาการร่วมกันและเผยแผ่องค์ความรู้ดังกล่าว ให้กับชาวนาในเขตชลประทานภาคกลางซึ่งเป็นพื้นที่ผลิตข้าวที่สำคัญของประเทศไทย 6 กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 187 คน ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท สิงห์บุรี สระบุรี และสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นการช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เพิ่มขีดความสำมารถการแข่งขันการผลิตข้าวของประเทศ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาด้านสุขภาพของชาวนาและผู้บริโภค พัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร และสร้างความมั่นคงยั่งยืนให้กับประเทศ ดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557 ถึง พฤษภาคม 2558 โดยการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านดินและปุ๋ยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดร่วมกับเทคนิคการทำนำต่างๆ ของชาวนาเงินล้าน เช่น การเก็บตัวอย่างดินเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ การใช้ปุ๋ยแบบสั่งตัด การเตรียมดิน การจัดการน้ำ การใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา ให้แก่ชาวนาทั้ง 6 กลุ่ม กลุ่มละ 2 รอบ และมีการประเมินความสนใจและความเข้าใจก่อนและหลังการอบรม นอกจากการอบรมแล้วโครงการยังสนับสนุนให้มีสร้างเครือข่ายโดยการสร้างผู้นำกลุ่มจำนวน 8 คน เกษตรกรผู้นำจำนวน 12 คน อีกทั้งมีการเผยแผ่ผลงานทางรายการหนึ่งในพระราชดาริทางช่อง 9 อสมท จำนวน 6 ตอน จากผลสรุปการอบรมพบว่าผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่คิดเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ มีอายุสูงกว่า 60 ปี ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าชั้นปฐมศึกษาปีที่หก เกษตรกรเหล่านี้มากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ ใช้ปุ๋ยแบบอื่นที่ไม่ไช่การใช้แบบสั่งตัด โดยปริมาณการใส่จะดูจากการเจริญเติบโตของข้าว ดูอาการของข้าว และอาศัยประสบการณ์ในคราวก่อนๆ มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของเกษตรกรยังเผาฟางข้าว มีความรู้น้อยในด้านดิน ปุ๋ย และการใช้ปุ๋ยแบบสั่งตัด แต่หลังจากอบรมครั้งที่ 1 เกษตรกรส่วนใหญ่เห็นว่ามีความรู้ในหัวข้อดังกล่าวมากขึ้น เมื่อผ่านการอบรม 2 รอบ พบว่าเกษตรกรมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ มีความรู้ในด้านดังกล่าวระดับปานกลางถึงมาก สนใจที่จะตั้งคลินิกดิน และใช้ปุ๋ย NPK แบบสั่งตัด ส่วนของเทคนิคการทำนำแบบชาวนาเงินล้าน ก่อนการอบรมครั้งที่ 1 พบว่าเกษตรกรประมาณกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ เผาฟางข้าว ไม่สนใจการใช้เชื้อจุลินทรีย์ในการช่วยย่อยสลายฟางข้าว การปลูกถั่วหลังนา การเตรียมดินให้ลึกแบบหล่มกะทิ ด้วยโรตารี่ตีดิน การคัดแยกเมล็ดพันธุ์ดีกับไม่สมบูรณ์ และการใช้เชื้อไตรโคเดอร์แช่เมล็ดพันธุ์ก่อนหว่าน การทำสมุนไพรไล่แมลงศัตรูพืชใช้เอง การให้น้ำแบบแห้งสลับเปียก แต่หลังจากเข้ารับการฝึกอบรมพบว่าเกษตรกรมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ สนใจที่จะทำเทคนิคต่างๆ ตามชาวนาเงินล้านไปใช้ โดยเฉพาะการใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา ซึ่งหลังจากการอบรมครั้งที่ 2 เกษตรกรมากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ สนใจ โดยสรุปในภาพรวมพบว่าเกษตรกรมากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ ที่เข้ารับการฝึกอบรมสนใจที่จะนำ 2 เทคนิคหลักไปใช้ คือการใช้ปุ๋ยแบบสั่งตัดและการใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา อย่างไรก็ตามเทคนิคบางประการ เช่น การไม่เผาฟางข้าว การเตรียมดินแบบประณีต และการให้น้ำแบบแห้งสลับเปียกเป็นสิ่งที่เกษตรกรสนใจทำแต่ทำไม่ได้เนื่องจากมีปัจจัยภายนอกเป็นตัวกำหนดหลายประการที่เกษตรกรไม่สามารถควบคุมได้ จากการสำรวจความพึงพอใจโครงการโดยผู้เข้าร่วมอบรมพบว่ามากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ ของผู้เข้าร่วมพอใจในระดับมากถึงมากที่สุด ในประเด็นที่ว่า โครงการอบรม “เครือข่ายชาวนาลูกผสมลดต้นทุนแบบสั่งตัดเงินล้านเพื่อการปลูกข้าวเชิงพาณิชย์แบบเป็นมิตรกับระบบนิเวศ” เป็นประโยชน์ สามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปใช้เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ ความสามารถของวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ และควรสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมในลักษณะนี้ในพื้นที่อื่นๆ ต่อๆ ไป
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง