- ดร.เทอดศักดิ์ ลิ่วหาทอง
- 691 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ลักษณะของข่าวปลอมในประเทศไทยและระดับความรู้เท่าทันข่าวปลอมบนเฟซบุ๊ก ของผู้รับสารในเขตกรุงเทพมหานคร |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | นันทิกา หนูสม |
คำสำคัญ | เฟซบุ๊ก;ข่าวปลอม;ความรู้เท่าทันสื่อ |
หน่วยงาน | สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | การเก็บข้อมูลจํานวนข่าวปลอมที่พบบนเฟซบุ๊ก จําแนกประเภทและรูปแบบเนื้อหาของข่าวปลอม จากนั้นนําข่าวปลอมที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา โดยละเอียด และ การสํารวจระดับความรู้เท่าทันข่าวปลอมของผู้รับสารในเขตกรุงเทพมหานคร และสิ่งที่ทําให้ผู้รับสาร หลงเชื่อข่าวปลอมบนเฟซบุ๊ก ด้วยแบบสอบถามออนไลน์จํานวน 400 ชุด พบว่า 1) ประเภทของข่าวปลอมที่พบมากที่สุดในระหว่างการเก็บข้อมูลคือ ข่าวปลอมที่ถูกสร้างขึ้นอย่างสมบูรณ์ และรูปแบบเนื้อหาของข่าวปลอมที่พบมากที่สุดคือ เนื้อหาที่ประดิษฐ์ขึ้น เพื่อให้เป็นข่าวปลอมที่สมบูรณ์ แนบเนียนที่สุด มีเนื้อหาที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ทั้งหมด ทั้งภาพ พาดหัวข่าว เนื้อหา และข้อมูลที่ปรากฏในข่าวสร้างขึ้นมา เป็นข่าวปลอมทั้งสิ้น วิธีการสร้างข่าวปลอมแบบสมบูรณ์เหล่านี้เป็นวิธีที่พัฒนามาจากเว็บข่าวปลอม แบบคลิกเบท เนื่องจากผู้อ่านเริ่มที่จะรู้เท่าทันข่าวแบบคลิกเบท ผู้นําเสนอข่าวปลอมจึงปรับเปลี่ยนรูปแบบการนําเสนอเพื่อให้ผู้อ่านไม่สามารถรู้เท่าทันได้ 2) ระดับความรู้เท่าทันข่าวปลอม ของผู้รับสารในเขตกรุงเทพมหานครมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 3) ส่วนประกอบของข่าวที่ทําให้กลุ่มตัวอย่างที่เชื่อถือในระดับมากคือ ข่าวที่มีแหล่งข่าวเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ บนสื่อสังคม ออนไลน์ที่ทําให้เชื่อถือข่าวนั้นในระดับมาก เพราะเป็นข่าวที่ถูกนําเสนอบนหน้านิวส์ฟีดของเฟซบุ๊กบ่อยๆ และผู้รับสารเชื่อข่าวที่สามารถหาเหตุผลมาสนับสนุนความเชื่อของตนเองได้เสมอ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/3177/1/nuntika_noos.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
ลักษณะของข่าวปลอมในประเทศไทยและระดับความรู้เท่าทันข่าวปลอมบนเฟซบุ๊ก ของผู้รับสารในเขตกรุงเทพมหานคร is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.