ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ศึกษาศิลปวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์มอญเพื่อการพัฒนาเครื่องเรือนร่วมสมัย
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง เกศิณีย์ เดชศักดาพร
คำสำคัญ ศิลปวัฒนธรรม;กลุ่มชำติพันธุ์มอญ;เครื่องเรือนร่วมสมัย;อัตลักษณ์ของชำวมอญ
หน่วยงาน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย ผลการศึกษาประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์มอญ จากการศึกษาข้อมูลและได้ลงพื้นที่ ตามกรอบแนวคิดด้านการเก็บรวมรวมข้อมูลของ (พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต พบว่าชาวไทยที่มีเชื้อสายมอญที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยนั้นยังรักษาและสืบสานศิลปวัฒนธรรมไว้เพื่อถ่ายทอดให้แก่คนรุ่นหลัง สะสมเป็นมรดกทางสังคมให้ปฏิบัติตามประเพณีได้อย่างถูกต้องและสามารถอยู่ร่วมกับสังคมในยุคปัจจุบันได้อย่างมีความสุข มีการปลูกฝังและถ่ายทอด ตามกรอบแนวคิดลักษณะความสำคัญของวัฒนธรรม (ศันสนีย์ จะสุวรรณ์ และ สุจิตรา แสงหิรัญ) ได้กล่าวถึงการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้และรู้จักดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมกับชีวิตความเป็นอยู่ในแต่ละยุคสมัย และเพื่อปรับปรุงของเดิมให้ดีขึ้น ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด 7 ด้าน และประเมินแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการเลือกอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์มอญเพื่อนำมาพัฒนาเครื่องเรือนประเภทโต๊ะเครื่องแป้ง โดยใช้หลักการ Concept Generate ของ ริชาร์ด โฟปส์ ผลการวิเคราะห์ที่ได้คือ ข้อมูลด้านสถาปัตยกรรมมอญที่มีความเหมาะสมที่สุดในการนำมาพัฒนาเครื่องเรือน การพัฒนาเครื่องเรือนจากอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์มอญ ได้แนวคิดการออกแบบมาจากรูปทรงสถาปัตยกรรมมอญ โดยสอดคล้องกับแนวความคิดร่วมสมัย (Contemporary Style) ของ (พรทิพย์ เรืองธรรม) ที่ได้กล่าวถึงการนำเอางานออกแบบที่เป็นที่นิยมในรูปแบบปัจจุบันมาผสมอย่างกลมกลืนกับรูปแบบต่างๆ ในอดีตโดยมีจุดประสงค์เพื่อการดึงเอาความรู้สึกหรืออารมณ์มาจากรูปแบบในอดีตมาแต่งกลิ่น หรือเพิ่มรสให้กับงานออกแบบนั้นๆ และยังสอดคล้องกับแนวคิดด้านหลักการออกแบบของ (อุดมศักดิ์ สาริบุตร) ได้กล่าวถึงด้านความจำเป็นในการใช้สอย ด้านความสวยงาม ด้านความแข็งแรงทนทาน ด้านวัสดุ ที่ต้องคำนึงถึงขั้นตอนการออกแบบ ทำให้โต๊ะเครื่องแป้งรูปแบบที่ 1 มีความเหมาะสมระดับมาก ผลประเมินความพึงพอใจของกลุ่มชาติพันธุ์มอญบางกระดี่ ที่มีอายุ 20-35 ปี ตามกรอบแนวคิดด้านหลักการออกแบบของ (อุดมศักดิ์ สาริบุตร) มีด้านหน้าที่ใช้สอย มีความพึงพอใจมาก ด้านความสะดวกสบายในการใช้งาน มีความพึงพอใจมาก ด้านราคาที่เหมาะสม มีความพึงพอใจมาก ด้านความสวยงามตามเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น มีความพึงพอใจมาก สามารถอภิปรายผลได้ ดังนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง โดยให้ความสำคัญด้านผลิตภัณฑ์มีเอกลักษณ์สอดคล้องกับเอกลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์มอญ ผลิตภัณฑ์ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน รูปทรงของผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมในการใช้งาน
สาขาการวิจัย
  • วิศวกรรมและเทคโนโลยี

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง