ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น:ศึกษากลุ่มผลิตสินค้า OTOP ผ้าทอบ้านม่วงหอม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | บุษบา หินเธาว์ |
คำสำคัญ | การจัดการความรู้;ภูมิปัญญาท้องถิ่น;ผ้าทอบ้านม่วงหอม;ผลิตภัณฑ์ OTOP |
หน่วยงาน | สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | วิเคราะห์พื้นฐานสภาพทั่วไป องค์ความรู้ รวบรวมองค์ความรู้ การจัดการความรู้และวิธีถ่ายทอดองค์ความรู้ การทำผ้าทอบ้านม่วง พบว่า องค์ความรู้เกี่ยวกับผ้าทอบ้านม่วง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ 1. องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตผ้าทอ 2. องค์ความรู้เกี่ยวกับผ้าลาย 3.องค์ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือ และอุปกรณ์การทอผ้า มีกระบวนการจัดการความรู้ 5 ขั้นตอนได้แก่1.)การกำหนดความรู้โดยผ่านการพิจารณา 2.)การแสวงหาความรู้ที่มาจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในชุมชนและการส่งเสริมจากหน่วยงานภายนอก 3.)การแลกเปลี่ยนความรู้อย่างไม่เป็นทางการ 4.) การจัดเก็บความรู้ ส่วนใหญ่เป็นการการจัดเก็บความรู้ในตัวบุคคล 5.) การถ่ายทอดความรู้ ส่วนใหญ่มีลักษณะอย่างไม่เป็นทางการ ผ่านสมาชิกในครัวเรือน ปัจจุบันมีการกำหนดองค์ความรู้ท้องถิ่นเรื่องการทอผ้าลานดอกบีปไปถ่ายทอดแก่เยาวชนผ่านเอกสารเผยแพร่ในสถานศึกษาที่อยู่ในท้องถิ่น และการถ่ายทอดองค์ความรู้การทำผ้าทอมือ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ 1. การถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการทอผ้าภายในชุมชน เป็นการถ่ายทอดความรู้ภายในครอบครัวจากแม่สู่ลูกหรือจากเครือญาติ 2. การรับการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการทำผ้าทอจากภายนอกชุมชน ได้แก่ การอบรมจากส่วนราชการ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.tci-thaijo.org/index.php/tgt/article/view/176094/125721 |
สาขาการวิจัย |
|
การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น:ศึกษากลุ่มผลิตสินค้า OTOP ผ้าทอบ้านม่วงหอม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.