- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จันทนี อุริยะพงศ์สรรค์
- 929 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การศึกษาคุณภาพของเมล็ดข่อยแห้ง |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ตวงพร เข็มทอง |
เจ้าของผลงานร่วม | นวลพรรณ ไพบูลย์ศรีนครา , นันทนา กลิ่นสุนทร |
คำสำคัญ | เมล็ดข่อยแห้ง;คุณภาพของเมล็ดข่อยแห้ง |
หน่วยงาน | ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | ข่อย ยาไทยใช้ส่วนเมล็ดบรรเทาอาการท้องเสีย ฆ่าเชื้อโรคในช่องปากและทางเดินอาหาร ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีข้อกำหนดมาตรฐาน ในตำรายาสมุนไพรไทย การศึกษานี้เพื่อสนับสนุนข้อมูลจัดทำข้อกำหนดมาตรฐานของเมล็ดข่อย ศึกษาคุณภาพของเมล็ดข่อยแห้ง จำนวน 16 ตัวอย่าง แบ่งจากร้านจำหน่ายสมุนไพร และจากนักพฤกษศาสตร์ ผลจากการศึกษาเอกลักษณ์ทางเคมีของตัวอย่างเมล็ดข่อยแห้งที่สกัดด้วยเอทานอล ความเข้มข้นร้อยละ 95 โดยวิธีโครมาโทกราฟี ชนิดผิวบางที่ใช้แผ่นอะลูมิเนียมฉาบด้วยซิลิกาเจล เปรียบเทียบระหว่างน้ำยาแยกที่มีส่วนผสมของ heptane-ethylacetate-glacialaceticacid ในอัตราส่วน 7:3:0.2 (ชนิดที่ 1) และอัตราส่วน 10:1:0.2 (ชนิดที่ 2) ตรวจสอบด้วยน้ำยาพ่นกรดกำมะถันเจือจางความเข้มข้นร้อยละ 10 โดยปริมาตร พบว่า น้ำยาแยกชนิดที่ 1 สามารถแยกจำนวนแถบของ สารสกัดเอทานอลของเมล็ดข่อยแห้งได้ดีกว่าน้ำยาแยกชนิดที่ 2 โดยเฉพาะสาร β-sitosterol และ lupeol การปนเปื้อนแคดเมียมเกินเกณฑ์มาตรฐานที่ระบุไว้ในตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย จำนวน 1 ตัวอย่าง |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://dmsc2.dmsc.moph.go.th/net/BDMS/data/58116.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
การศึกษาคุณภาพของเมล็ดข่อยแห้ง is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.