ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
ผลของรังสีแกมมาแบบเฉียบพลันต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะสัณฐานของต้นแววมยุราพันธุ์พื้นเมือง |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
อำพรรณ อินทนนท์ |
เจ้าของผลงานร่วม |
รองศาสตราจารย์ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์ |
คำสำคัญ |
เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต ,การฉายรังสีแกมมาแบบเฉียบพลัน ,เซลล์คุม ,การปักชำใบ |
หน่วยงาน |
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สาขาพืชสวน คณะเกษตร |
ปีที่เผยแพร่ |
2562 |
คำอธิบาย |
การศึกษาผลของรังสีแกมมาต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะสัณฐานของต้นแววมยุรา โดยใช้ส่วนใบแววมยุรามาฉายรังสีแกมมาแบบเฉียบพลันที่ปริมาณ 0, 20, 40, 60, 80, 100 เกรย์ หลังจากนั้นนำไปปักชำนาน 60 วัน นับจำนวนใบที่รอดชีวิต พบว่าเมื่อปริมาณรังสีเพิ่มมากขึ้นมีผลทำให้เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตลดลง หาความสัมพันธ์ของปริมาณรังสีที่ทำให้แววมยุรารอดชีวิตที่ 50 เปอร์เซ็นต์ (LD50(60)) มีค่า 51 เกรย์ และนับจำนวนยอดที่แตกใหม่จากใบแววมยุรา พบว่าใบที่ได้รับปริมาณรังสี 60, 80 และ 100 เกรย์มีจำนวนยอดที่แตกใหม่น้อยกว่าใบที่ไม่ได้รับรังสี แต่ใบที่ได้รับปริมาณรังสี 20 เกรย์พบว่ามียอดที่แตกใหม่มากที่สุดถึง 5 ยอด นำต้นที่รอดย้ายปลูกในกระถางนาน 60 วัน ได้ต้นอ่อนอายุ 120 วัน วัดการเจริญเติบโตของต้นทางด้านความสูง ขนาดทรงพุ่ม พบว่าเมื่อปริมาณรังสีเพิ่มมากขึ้นทำให้การเจริญเติบโตของต้นลดลง ส่วนสัณฐานวิทยาหลังจากได้รับรังสี พบว่าที่ปริมาณรังสี 40 เกรย์ ทำให้ใบมีลักษณะกลม ความยาวใบสั้น และหยักของขอบใบบางส่วนมีลักษณะมน เมื่อเทียบกับใบปกติ นอกจากนี้พบว่าต้นที่ได้รับรังสีที่ปริมาณต่างๆ มีใบที่มีลักษณะเซลล์คุมและเซลล์ข้างเคียงผิดปกติไปจากต้นควบคุม และจำนวนเซลล์คุมที่ผิดปกติมีมากขึ้นเมื่อได้รับปริมาณรังสีเพิ่มมากขึ้น |
ข้อมูลเพิ่มเติม |
https://www.tci-thaijo.org
|
สาขาการวิจัย |
|