ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การออกแบบการส่องสว่างโบราณสถานประเภทปราสาทหิน กรณีศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | กิตติ กิจศิริกุล |
คำสำคัญ | การออกแบบ;การส่องสว่าง;โบราณสถาน;อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย |
หน่วยงาน | ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | ปราสาทหินพิมายเป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จากการสํารวจการส่องสว่างอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย พบปัญหาด้านการส่องสว่างดังนี้ การใช้พลังงานในการส่องสว่างมากค่าไฟฟ้าสูง การส่องสว่างไม่ทั่วทั้งอุทยานฯ ไม่สามารถมองเห็นการส่องสว่างจากมุมมองภายนอก ส่องสว่างไม่ถึงยอดปราสาทประธานมืดกลืนไปกับท้องฟ้า และการส่องสว่างมีองศาที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากดวงโคมฝังพื้นลอยขึ้นจากพื้นดิน จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า สามารถใช้กระบวนการออกแบบการส่องสว่างทั่วไป มาใช้ออกแบบการส่องสว่างอุทยานประวัติศาสตร์พิมายได้ โดยมีข้อพิจารณาในการออกแบบดังนี้ มุมมองสําคัญในการส่องสว่าง บริบทที่ตั้งของโบราณสถาน รูปทรง วัสดุ พื้นผิว ขององค์ประกอบสถาปัตยกรรม ประวัติความเป็นมาของโบราณสถานนั้น ๆ และพื้นที่โดยรอบอุทยาน ฯ นอกจากนั้นยังนําไปใช้ออกแบบการส่องสว่างกับโบราณสถานประเภทปราสาทหินอื่น ๆ ได้ เนื่องจากเป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากอาณาจักรขอมเช่นเดียวกัน จึงมีแนวคิด รูปทรง รูปแบบและคติการสร้างที่ใกล้เคียงกัน |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.tci-thaijo.org/index.php/sarasatr/article/view/123330/ |
สาขาการวิจัย |
|
การออกแบบการส่องสว่างโบราณสถานประเภทปราสาทหิน กรณีศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.