ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากข้าวกล้องงอกตามแนวคิด การบริโภคตามอารมณ์
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ธนิษฐา รอยอินทรัตน์
เจ้าของผลงานร่วม วัสสนัย วรรธนัจฉริยา
คำสำคัญ ข้าวกล้องงอก;ขนมขบเคี้ยว;การบริโภคตามอารมณ์;การกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ
หน่วยงาน ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากข้าวกล้องงอกที่สอดคล้องต่อผู้บริโภคที่ได้จัดแบ่งตามแนวคิดการบริโภคตามอารมณ์ โดยการสัมภาษณ์และเก็บแบบสอบถามจากลุ่มผู้บริโภค เพื่อทําการจัดแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม พร้อมทั้งเก็บข้อมูลลักษณะขนมขบเคี้ยวที่ผู้บริโภคแต่ละกลุ่มพึงพอใจ โดยความต้องการของผู้บริโภคเหล่านี้จะถูกนํามาแปลงเป็น คุณสมบัติเชิงเทคนิคโดยใช้หลักการการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้ขนมขบเคี้ยวจากข้าวกล้องงอกที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคแต่ละกลุ่มให้มากที่สุด พบว่า ผู้บริโภคกลุ่ม Intuition มีจํานวนมากที่สุด ลักษณะความต้องการในด้านรูปแบบขนมขบเคี้ยวจะเป็นแบบข้าวพอง มีรูปร่างเป็นแผ่น รสต้มยํา, กลุ่ม Innovation ต้องการขนมข้าวอบกรอบแบบแท่ง รสน้ำพริกเผา, กลุ่ม Satisfaction ต้องการขนมกรอบเค็มแบบแท่ง รสพริกไทย และสุดท้ายกลุ่ม Perfection ต้องการขนมข้าวพองขึ้นรูปทรงลูกบาศก์ รสน้ำพริกเผา และเมื่อประยุกต์เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ เพื่อหาความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าที่มีต่อขนมขบเคี้ยวจากข้าวกล้องงอกแต่ละกลุ่ม พบกลุ่ม Innovation และ Intuition ให้ความสําคัญกับประเด็นเรื่องการไม่มีกลิ่นหืนมากที่สุด, กลุ่ม Perfection และ Satisfaction เน้นความต้องการไปที่ความอร่อย เป็นประเด็นสําคัญที่สุด และเมื่อเชื่อมโยงความต้องการของลูกค้าไปสู่คุณลักษณะเชิงเทคนิค พบว่า ผู้บริโภคทุกกลุ่มให้คะแนนระดับความสําคัญของปริมาณไขมันทั้งหมด รองลงมาคือปริมาณน้ำตาล และสุดท้ายคือพลังงานทั้งหมดที่ได้รับซึ่งเป็นการย้ำความคล้ายคลึงกันของผู้ใส่ใจสุขภาพ
ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/302
สาขาการวิจัย -
Creative Commons License


การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากข้าวกล้องงอกตามแนวคิด การบริโภคตามอารมณ์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง