ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ผ้าไหมทอมือพื้นบ้าน ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง เมธ์วดี พยัฆประโคน
เจ้าของผลงานร่วม พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ , นพดล อินทร์จันทร์ , กิตติกรณ์ นพอุดมพันธ์
คำสำคัญ ผ้าไหม;ทอมือพื้นบ้าน;จังหวัดสุรินทร์;ปรากฎการณ์
หน่วยงาน สาขาศิลปะการแสดง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปีที่เผยแพร่ 2562
คำอธิบาย การศึกษาผ้าไหมทอมือพื้นบ้าน ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ใน 4 ประเด็นคือ 1.รูปแบบลวดลายและสีบนพื้นผ้า 2. วิถีชีวิตชุมชน ความเชื่อและความต้องการใช้ผ้า 3. วิธีสืบทอดภูมิปัญญาและการสร้างช่างรุ่นใหม่ 4. ปัจจัยของผู้บริโภคและสังคมต่อการทอผ้า ผลการวิจัยพบว่า ผ้าไหมมีทั้งหมด 5 ชนิด ผ้าไหมมัดหมี่มีการทอมากที่สุด รองลงมา ผ้าลายตาราง ผ้ายก ผ้าอันลูยซีม ผ้าพื้น ผ้าหางกระรอก ผ้าขิด ตามลำดับ นิยมคู่สีกลมกลืนกัน คือเหลือง แดง น้ำตาล แทรกคู่สีตัด คือ ม่วง เขียวบางส่วนของลาย ปัจจุบันมีผ้าทนสีมากขึ้นจากการย้อมเคมี แม่ลายมัดหมี่มี 3 กลุ่มคือ 1).ลายเรขาคณิตรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน 2).ลายพรรณพฤกษา เช่นลายดอกมะเขือ รวงข้าว ดอกไม้ 3). ลายสัตว์ เช่น ลายนกยูง ลายเต่างับ การจัดการกลุ่มทอผ้าเป็นแบบพึ่งพาตนเอง ในระบบเครือญาติและแบ่งงานภายในเครือข่าย ในประเด็นวิถีชีวิตชุมชน ความเชื่อ และความต้องการใช้ผ้า พบว่าชุมชนสืบสานประเพณีพื้นบ้านร่วมกับประเพณีหลักของประเทศ รัฐสนับสนุนการทอเชิงอนุรักษ์และจัดกิจกรรมการใช้ผ้าเพื่อสร้างตลาดภายในชุมชน สำหรับการสืบสานภูมิปัญญาและการสร้างช่างรุ่นใหม่ พบว่า ช่างรุ่นใหม่จะเริ่มฝึกทอผ้าจากลายข้อ ขอ โคม ก้านแย่ง และโฮล รัฐจัดอบรมและสนับสนุนผู้มีความสามารถพิเศษเป็นวิทยากร จากการศึกษาปัจจัยของผู้บริโภคและสังคมต่อการทอผ้า พบว่า ช่างทอผ้ามีความเชี่ยวชาญเรื่องหม่อนไหมสูง สืบทอดความรู้ได้ มีความต้องการผ้ามาจากชุมชน
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/80858/64376
สาขาการวิจัย
  • มนุษยศาสตร์
Creative Commons License


ผ้าไหมทอมือพื้นบ้าน ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง