ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ความหลากหลายและสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างอ้อยพันธุ์การค้า ในประเทศไทย |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ชบา ทองไผ่ใหญ่ |
เจ้าของผลงานร่วม | อนุชา วงศ์ปราณีกุล , ประเสริฐ ฉัตรวชิระวงษ์ |
คำสำคัญ | อ้อย;การปรับปรุงพันธุ์;สัมประสิทธิ์ทางเครือญาติ |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | การศึกษาเพื่อนำเสนอความหลากหลายและสัมพันธ์ระหว่างอ้อยพันธุ์การค้าในประเทศไทย ข้อมูลพันธุประวัติของอ้อยแต่ละพันธุ์ได้สืบย้อนกลับไปยังพันธุ์ดั้งเดิม การคำนวณสัมประสิทธิ์ทางเครือญาติทำโดยอาศัยข้อมูลอ้อยทั้ง 70 พันธุ์ และวาดแผนภาพ dendrogram โดยจัดพันธุ์เข้ากลุ่มวิธี UPGMA จากข้อมูลพันธุประวัติได้แสดงให้เห็นว่าพันธุ์อ้อยการค้าของไทย เกิดจากอ้อยต่างประเทศเพียง 26 พันธุ์เท่านั้น ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลได้ชี้ให้เห็นว่า อ้อยพันธุ์การค้าหลายพันธุ์มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับพันธุ์ OCSB3 (37.3%) สูงกว่า UT1 (20.4%) อ้อยชนิด S. officinarum เป็นฐานพันธุกรรมหลัก (25.1%) ในขณะที่ชนิด S. barberi, S. spontaneum และ S. sinense มีอยู่ 10.8, 5.9 และ 2.4% ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าพันธุ์อ้อยปรับปรุงใหม่ของไทยมีฐานพันธุกรรมแคบ ดังนั้น นักปรับปรุงพันธุ์จึงควรนำเข้าเชื้อพันธุกรรมแหล่งใหม่มาใช้ในโครงการปรับปรุงพันธุ์อ้อยในอนาคต |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=09.pdf&id=636&keeptrack=12 |
สาขาการวิจัย |
|
ความหลากหลายและสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างอ้อยพันธุ์การค้า ในประเทศไทย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.