ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การประเมินการรั่วไหลของสารอิเล็กโทรไลต์ และระดับมาลอนไดแอลดีไฮด์ ของใบอ้อย 10 สายพันธุ์ ภายใต้สภาวะขาดน้ำ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | นิศาชล แจ้งพรหมมา |
เจ้าของผลงานร่วม | ประสิทธิ์ ใจศิล , พัชริน ส่งศรี , ประสาร สวัสดิ์ซิตัง , ศักดา ดาดวง , สมปอง ธรรมศิริรักษ์ |
คำสำคัญ | สภาวะแล้ง;ปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมัน;ต้นอ้อย |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | การประเมินระดับมาลอนไดแอลดีไฮด์ และการรั่วไหลของสารอิเล็กโทรไลต์ของใบอ้อย 10 สายพันธุ์ ภายใต้สภาวะขาดน้ำ โดยกำหนดให้ปัจจัยแรกเป็นระดับของการขาดน้ำ ได้แก่ 1) ได้รับน้ำเต็มที่ และ 2) ขาดน้ำ ที่อายุ 90 ถึง 100 วันหลังปลูก และให้น้ำกลับคืนจนถึงอายุ 110 วันหลังปลูก และปัจจัย ที่สองเป็นพันธุ์อ้อย 10 พันธุ์ได้แก่ Uthong 6, Khon Kaen 80, K86-161, Khon Kaen 3, 03-4-425, KU60-1, Phill 66-07, B34-161, Uthong 2 และ LF82-2122 ซึ่งจากการศึกษานี้พบว่า เมื่ออ้อยขาดน้ำทำให้ค่าปริมาณน้ำสัมพัทธ์ในใบลดลง ส่วนปริมาณการรั่วไหลของ สารอิเล็กโทรไลต์พบว่ามี ค่าเพิ่มขึ้นเมื่ออ้อยขาดน้ำ และอ้อยสายพันธุ์ LF82-2122, K86-161 และ Khon Kaen 3 เป็นสายพันธุ์ที่ทนแล้ง โดยประเมินจากปริมาณการรั่วไหลของสารอิเล็กโทรไลต์ต่ำ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า อ้อยทั้ง 3 สายพันธุ์นั้นมีความคงทนของเยื่อหุ้มเซลล์สูงที่สุดเมื่อต้นอ้อยกระทบแล้ง สำหรับระดับมาลอนไดแอล ดีไฮด์ที่วัดได้นั้นพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันทั้งในระหว่างพันธุ์และระดับน้ำที่ได้รับ จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการประเมินการรั่วไหลของสารอิเล็กโทรไลต์เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถใช้ในการประเมินความเสียหายของเยื่อหุ้มเซลล์ ที่เกิดจากภาวะเครียดเนื่องจากการขาดน้ำได้ และยังมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดกรองอ้อยสายพันธุ์ ทนแล้งได้ สำหรับระดับมาลอนไดแอลดีไฮด์นั้นยังมีความจำเป็นที่ต้องศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสม ในการประเมิน |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=114.pdf&id=638&keeptrack=10 |
สาขาการวิจัย |
|
การประเมินการรั่วไหลของสารอิเล็กโทรไลต์ และระดับมาลอนไดแอลดีไฮด์ ของใบอ้อย 10 สายพันธุ์ ภายใต้สภาวะขาดน้ำ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.