- โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
- 606 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | คุณค่าทางอาหารและการย่อยได้ของเปลือก-ซังข้าวโพด ที่ปรับปรุงคุณภาพ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ศิริพร ทุมมณี |
เจ้าของผลงานร่วม | ญาณิน โอภาสพัฒนกิจ , สมปอง สรวมศิริ , สกล ไข่คำ |
คำสำคัญ | เปลือกพร้อมซังข้าวโพด;ยูเรีย;โซเดียมไฮดรอกไซด์;การย่อยได้;แพะ |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | การศึกษาเพื่อปรับปรุงคุณภาพและการย่อยได้ของเปลือกพร้อมซังข้าวโพดอาหารสัตว์ โดย การใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์และยูเรีย ที่ระดับ 0, 3 และ 6% เป็นระยะเวลา 7, 14 และ 21 วัน เพื่อคัดเลือกสูตรที่มีการย่อยได้ในห้องปฏิบัติการสูงที่สุด 3 สูตรจาก 27 สูตรทดลองคือ ใช้ โซเดียมไฮดรอกไซด์ 6% ร่วมกับยูเรีย 6% นาน 14 วัน (T2) ใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ 6% ร่วมกับยูเรีย 3% นาน 21 วัน (T3) และใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ 6% ร่วมกับยูเรีย 6% นาน 21 วัน (T4) โดยเทียบกับกลุ่มฟางหมักยูเรีย 6% (T1) ศึกษาปริมาณการกินได้และสัมประสิทธิ์การย่อยได้ในแพะลูกผสมพันธุ์ซาแนน เพศเมีย จำนวน 12 ตัว ผลทดลองพบว่า แพะกลุ่ม T2 มีปริมาณการกินได้ของวัตถุแห้งต่ำกว่ากลุ่ม T1 และ T4 เท่ากับ (150.53, 332.69 และ 319.21 กรัม/ตัว/วัน ตามลำดับ) แต่แพะกลุ่ม T2 มีปริมาณโปรตีนย่อยได้ที่ได้รับมากกว่ากลุ่ม T1 และ T4 (28.82, 17.53 และ 22.52 กรัม/ตัว/วัน ตามลำดับ) ในขณะ ที่ปริมาณพลังงานย่อยได้ที่แพะทดลองได้รับมีค่าต่ำมากอยู่ในช่วง 0.004-0.010 Mcal/d สัมประสิทธิ์การย่อยได้ในรูปของวัตถุแห้งอินทรียวัตถุ โปรตีน ไขมัน พลังงาน และ ADF ไม่มีความแตกต่างกัน ในขณะที่ T1 มีสัมประสิทธิ์การย่อยได้ในรูปของ NDF สูงกว่ากลุ่ม T2 แต่ไม่แตกต่างจากกลุ่ม T4 (88.10, 65.60 และ 78.11% ตามลำดับ) การใช้เปลือกพร้อมซังข้าวโพดปรับปรุงด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์และยูเรีย มีผลต่อปริมาณการกินของแพะ โดยเฉพาะพลังงานที่ได้รับต่อวัน |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=118.pdf&id=785&keeptrack=7 |
สาขาการวิจัย |
|
คุณค่าทางอาหารและการย่อยได้ของเปลือก-ซังข้าวโพด ที่ปรับปรุงคุณภาพ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.