ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | องค์ประกอบของตัวละครที่แสดงความเป็นตลาดในการแสดงละครรำ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | เฉลิมศักดิ์ เย็นสำราญ |
เจ้าของผลงานร่วม | สวภา เวชสุรักษ์ |
คำสำคัญ | ความเป็นตลาด;ละครรำ |
หน่วยงาน | สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การวิจัยบทละครสมัยกรุงศรีอยุธยา, กรุงธนบุรี, กรุงรัตนโกสินทร์ และบทประกอบการแสดงของกรมศิลปากร ซึ่งใช้แสดงละครรำ 4 ประเภทคือ โขน ละครชาตรี ละครนอก และละครใน พบว่า ความเป็นตลาดเป็นการแสดงพฤติกรรมไม่สำรวมด้วยอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด คำพูดและกิริยาท่าทางของตัวละครที่เปรียบเสมือนตัวแทนมนุษย์ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มีอยู่ในทุกตัวละคร เป็นการสร้างความสมจริงที่สะท้อนตัวตนของมนุษย์ได้ใกล้เคียงกับชีวิตจริง องค์ประกอบของตัวละครที่แสดงความเป็นตลาดในการแสดงละครรำ คือ 1) ปัจจัยหลักคือ ความขัดแย้งของตัวละคร 5 ลักษณะ 2) ปัจจัยรองคือ สถานภาพของตัวละคร เพศสถานะ และบุคลิกลักษณะ 3) ปัจจัยเสริม ได้แก่ บรรยากาศที่ส่งเสริมความเป็นตลาดของตัวละคร ความเป็นตลาดเป็นสิ่งที่มีอยู่ในอุปนิสัยของมนุษย์ทุกคนทั้งผู้ดีและไพร่ โดยมีกรอบมารยาททางสังคมเป็นแบบแผนให้ยึดถือปฏิบัติหรือเป็นเครื่องกลั่นกรองการแสดงออกทางพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อสังคม |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.stou.ac.th/Offices/Oaa/OaaOldPage/Professional/Train_Professional/stouJournal/uploadStouJournal/186_ZxScXsZfWwPiWhO.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
องค์ประกอบของตัวละครที่แสดงความเป็นตลาดในการแสดงละครรำ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.