ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ชีววิทยาและประสิทธิภาพของไส้เดือนฝอยตัวห้ำ อันดับ Mononchida และ Dorylaimida ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | รักตาภา ผ่องอินทรีย์ |
คำสำคัญ | ไส้เดือนฝอยตัวห้ำ;ไส้เดือนฝอยรากปม;การควบคุมโดยชีววิธี |
หน่วยงาน | ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | ไส้เดือนฝอยตัวห้ำ Mylonchulus sp. มีลักษณะส่วนหางสั้นและแคบ รูปกรวยโค้งเข้าทางด้าน ventral ลักษณะส่วนหัวเรียบ ช่องปากตอนบนกว้างตอนล่างเรียวแหลม มีฟันทางส่วนบนของช่องปาก สามารถกัดกินไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne sp. ให้เกิดบาดแผล ค่าเฉลี่ยอัตราการกินเหยื่อของไส้เดือนฝอยตัวห้ำที่ 5 ตัว สามารถกินเหยื่อเฉลี่ยที่ 77.62 ตัวต่อวัน งานวิจัยนี้จึงก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านการควบคุมไส้เดือนฝอยรากเพื่อลดการใช้สารเคมีที่ส่งผลต่อสภาพแวดล้อม นำไปสู่การควบคุมที่มีประสิทธิภาพและสามารถลดต้นทุนการผลิตแก่เกษตรกร |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://app.gs.kku.ac.th/gs/th/publicationfile/item/20th-ngrc-2019/BMP17/BMP17.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
ชีววิทยาและประสิทธิภาพของไส้เดือนฝอยตัวห้ำ อันดับ Mononchida และ Dorylaimida ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.