ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การปลูกพืชสลับในไร่อ้อยเพื่อปรับปรุงดินและเพิ่มผลผลิตอ้อย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | พัชนี อาภรณ์รัตน์ |
เจ้าของผลงานร่วม | อุษา จักราช |
คำสำคัญ | อ้อย;ปรับปรุงดิน;ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ;ข้าวไร่;ปุ๋ยพืชสด |
หน่วยงาน | กลุ่มวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 จ.ขอนแก่น |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | ความคุ้มค่าในการปลูกพืชสลับแต่ละชนิดได้แก่ ถั่วพร้า ปอเทือง และข้าวไร่ก่อนการปลูกอ้อย ทั้งในแง่ของการปรับปรุงบำรุงดิน และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 7 วิธีการได้แก่ 1) ปล่อยแปลงว่าง แล้วปลูกอ้อยตามและใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ 2) ปล่อยแปลงว่าง แล้วปลูกอ้อยตามและใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 อัตรา 25 กก./ไร่ และสูตร 22-8-10 อัตรา 25 กก./ไร่ และปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตัน/ไร่ 3) ปลูกปอเทืองเป็นพืชปุ๋ยสด 1 crop แล้วปลูกอ้อยตาม 4) ปลูกปอเทือง (เก็บเมล็ดพันธุ์) 1 crop แล้วปลูกอ้อยตาม 5) ปลูกถั่วพร้าเป็นพืชปุ๋ยสด 1 crop แล้วปลูกอ้อยตาม 6) ปลูกถั่วพร้า (เก็บเมล็ดพันธุ์) 1 crop แล้วปลูกอ้อยตาม และ 7) ปลูกข้าวไร่ (ไถกลบตอซังหลังเก็บเกี่ยว) 1 crop แล้วปลูกอ้อย ตาม ทุกวิธีการใช้อ้อยพันธุ์ K88-92 โดยวิธีการที่ 3-7 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ ผลการทดลองพบว่า หลังจากทำการปลูกพืชสลับเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน แล้วพบว่าการไถกลบพืชปุ๋ยสด ทำให้สมบัติทางเคมีของดินดีขึ้นในทำนองเดียวกันกับการไถกลบพืชปุ๋ยสด และไถกลบตอซังข้าวให้ผลตอบแทนสูงกว่าไม่มีการปลูกพืชปุ๋ยสด กล่าวคือ วิธีการที่ 7 ให้ผลผลิตอ้อยปลูกสูงสุดเท่ากับ 18.84 ตัน/ไร่ รองลงมาคือ วิธีการที่ 5 ให้ผลผลิตอ้อยเท่ากับ 18.74 ตัน/ไร่ เมื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนทางเศรษฐกิจพบว่าเป็นไปในทำนองเดียวกัน คือ วิธีการที่ 7 ให้กำไรรวม 2 ปีเท่ากับ 12,050.72 บาท/ไร่ และวิธีการที่ 5 ให้กำไรรวม 2 ปีเท่ากับ 8,666.44 บาท/ไร่ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=213.pdf&id=648&keeptrack=8 |
สาขาการวิจัย |
|
การปลูกพืชสลับในไร่อ้อยเพื่อปรับปรุงดินและเพิ่มผลผลิตอ้อย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.