ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การปรับปรุงดินก่อนปลูกอ้อยโดยใช้ประโยชน์จากวัชพืชในธรรมชาติ และวัสดุหรือพืชบำรุงดินชนิดต่าง ๆ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สันติไมตรี ก้อนคำดี |
เจ้าของผลงานร่วม | ประสิทธิ์ ใจศิล , วรรณวิภา แก้วประดิษฐ์ พลพินิจ , ทัศนีย์ วงษ์เพชร |
คำสำคัญ | ปล่อยแปลงว่าง;กากตะกอนหม้อกรอง;ข้าวไร่;ปอเทือง |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การศึกษากรรมวิธีในการปรับปรุงดินโดยใช้วัชพืขในธรรมชาติเปรียบเทียบกับวัสดุปรับปรุงดิน หรือพืชบำรุงดินชนิดต่าง ๆ ก่อนการปลูกอ้อย มีการจัดการดิน 4 กรรมวิธีคือ 1) การใช้กากตะกอนหม้อกรองในอัตรา 10 ตัน/ไร่ 2) การปลูกข้าวไร่ ระยะปลูก 50X20 ซ.ม. 3) การปลูกปอเทืองในอัตรา 5 ก.ก. เมล็ด/ไร่ และ 4) การปล่อยแปลงให้ว่างเปล่า ผลการทดลองพบว่า การปล่อยแปลงว่างเปล่า มีปริมาณวัชพืชมากที่สุดแต่น้ำหนักแห้งของวัชพืชน้อยที่สุด ส่วน การปรับปรุงดินด้วยการใส่กากตะกอนหม้อกรองในอัตรา 10 ตัน/ไร่ ส่งผลให้มีน้ำหนักแห้งของวัชพืชสูงสุด กรณีการปลูกข้าวไร่ นอกจากน้ำหนักแห้งของวัชพืชน้อยรองจากการปล่อยแปลงว่างเปล่าแล้ว ยังช่วยให้เกษตรกรมีข้าวไว้บริโภคและจำหน่ายส่วนที่เหลือ ทำให้มีเงินทุนหมุนเวียนสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูกอ้อยหลังเก็บเกี่ยวข้าวไร่ด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าการจัดการดินทั้ง 4 กรรมวิธี สามารถใช้ปรับปรุงดินทางเคมีเพื่อให้มีอินทรียวัตถุ ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด และปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินเพิ่มขึ้นได้เหมือนกัน ดังนั้น การเลือกวิธีการปรับปรุงดินจึงขึ้นอยู่กับความสะดวกและความสามารถในการจัดการของเกษตรกรแต่ละรายว่าจะเลือกวิธีการใดที่มีต้นทุนต่ำและเหมาะสมกับสภาพไร่ของตนเอง |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=223.pdf&id=649&keeptrack=12 |
สาขาการวิจัย |
|
การปรับปรุงดินก่อนปลูกอ้อยโดยใช้ประโยชน์จากวัชพืชในธรรมชาติ และวัสดุหรือพืชบำรุงดินชนิดต่าง ๆ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.