- อมรรัตน์ รังสิวิวัฒน์
- 709 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การเกิด somatic embryo ในอ้อย |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | กษิดิศ ดิษฐบรรจง |
เจ้าของผลงานร่วม | ชยานิจ ดิษฐบรรจง , ภุมรินทร์ วณิชชนานันท์ , วีระพล พลรักดี , Suk-Woo Jang |
คำสำคัญ | callus proliferation;induction percentage;ช่อดอกอ่อน;การขยายพันธุ์พืช |
หน่วยงาน | สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร จ.ปทุมธานี |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การพัฒนาระบบการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อการขยายพันธุ์และการอนุรักษ์พันธุกรรมอ้อย (Saccharum officinarum L.) ได้ศึกษาการเกิด somatic embryo โดยนำชิ้นส่วนของช่อดอกอ่อนอ้อยมาเลี้ยงบนอาหารเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช อาหารชักนำให้เกิดแคลลัสที่ให้ผลการตอบสนองสูงสุด ประกอบด้วยอาหาร Murashige and Skoog (MS) ที่มี 2,4-dichlorophenoxyacetic acid (2,4-D) 10-15 µM น้ำมะพร้าวอ่อน 50 มล./ล. casein hydrolysate (CH) 500 มก./ล. และน้ำตาล 6% (w/v) การเพิ่มปริมาณแคลลัสทำได้โดยนำแคลลัสที่ได้จากอาหารชักนำย้ายไปเลี้ยงบนอาหาร MS ที่มีความเข้มข้น ของ 2,4-D ลดลงเหลือ 5 µM มีผลให้แคลลัสสามารถเพิ่มปริมาณสูงสุด แคลลัสสามารถชักนำให้พัฒนาเป็นต้นอ่อนบนอาหาร MS ที่ประกอบด้วยปุ๋ยกล้วยไม้สูตร 21-21-21 อัตรา 0.5 ก./ล. และน้ำตาล 6% (w/v) โดยไม่มีสารกระตุ้นการเจริญเติบโตพืช ต้นอ่อนสามารถเกิดรากได้เองบนอาหารสูตรนี้ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=283.pdf&id=655&keeptrack=11 |
สาขาการวิจัย |
|
การเกิด somatic embryo ในอ้อย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.