ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | แนวทางการควบคุมโรคใบขาวอ้อยโดยการใช้เชื้อแบคทีเรียร่วมอาศัย ในแมลงพาหะ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | จุรีมาศ วังคีรี |
คำสำคัญ | โรคใบขาวอ้อย;แมลงพาหะ;เชื้อแบคทีเรียร่วมอาศัยในแมลงพาหะ |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การหาชนิดของแบคทีเรียร่วมอาศัยอยู่ในเพลี้ยจักจั่น Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura) แมลงพาหะนำเชื้อไฟโตพลาสมา สาเหตุของ การเกิดโรคใบขาวอ้อยเพื่อ เป็นตัวเลือกในการใช้ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคใบขาวอ้อย ตามวิธีการแบบ symbiotic control ผลการศึกษายีน 16S rRNA ของแบคทีเรีย พบว่า แบคทีเรียร่วมอาศัยในเพลี้ยวจักจั่นชนิดที่พบมากที่สุด จัดอยู่ใน class Betaproteobacteria เป็นชนิดแบคทีเรียที่ยังไม่เคย มีรายงานในฐานข้อมูลมาก่อน จึงได้เรียกชื่อว่า “Bacterium Associated with M. hiroglyphicus” (BAMH) โดยประชากรในธรรมชาติของเพลี้ยจักจั่น M. hiroglyphicus ตรวจพบว่ามีแบคทีเรีย BAMH ในเพศเมีย 98% และในเพศผู้ 94% ซึ่งแบคทีเรีย BAMH สามารถตรวจพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตตั้งแต่ระยะไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย และเพลี้ยจักจั่นที่พบเชื้อไฟโตพลาสมาจะตรวจพบแบคทีเรีย BAMH 98% ในเพศเมีย และ 86% ในเพศผู้ จากผลการศึกษานี้ คาดว่าแบคทีเรียชนิดนี้มีความสัมพันธ์กับแมลงพาหะ จึงถือได้ว่าเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในการนำมาใช้ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคใบขาวอ้อย ตามวิธีการแบบ symbiotic control |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=342.pdf&id=661&keeptrack=555 |
สาขาการวิจัย |
|
แนวทางการควบคุมโรคใบขาวอ้อยโดยการใช้เชื้อแบคทีเรียร่วมอาศัย ในแมลงพาหะ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.