ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ผลของอุณหภูมิต่อแมลงพาหะ Matsumuratettix hiroglyphicus นำโรคใบขาวอ้อย
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ชนาณัฐ แก้วมณี
เจ้าของผลงานร่วม ยุพา หาญบุญทรง , ทัศนีย์ แจ่มจรรยา
คำสำคัญ แมลงพาหะ;เชื้อไพโตพลาสมา;อ้อย;อุณหภูมิ
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การศึกษาอุณหภูมิห้อง (26°C), 20°C, 25°C, 30°C และ 35°C ต่อการเจริญเติบโตของเพลี้ยจักจั่น M. hiroglyphicus และปริมาณเชื้อไพโตพลาสมาในตัวแมลงพาหะ ผลศึกษาพบว่า วงจรชีวิตจากระยะไข่ถึงระยะตัวอ่อนที่อุณหภูมิ 35°C มีวงจรชีวิตสั้นที่สุดคือ 21.34±2.06 วัน เช่นเดียวกับการตรวจ พบเชื้อไฟโตพลาสมาจากแมลงพาหะเพศเมียและเพศผู้ที่มากที่สุดที่อุณหภูมิ 35°C คือ 75% และ 65% จากงานวิจัยนี้พบว่าอุณหภูมิห้อง (26°C) เป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมของเชื้อไฟโตพลาสมาโรคใบขาวอ้อยในการเจริญเติบโตในตัวแมลง ในขณะที่อุณหภูมิ 35°C มีผลต่อการเจริญพันธุ์ของแมลงพาหะที่เร็วขึ้นและมีการแพร่กระจายของเชื้อไฟโตพลาสมาในตัวแมลงพาหะมากกว่าอุณหภูมิที่ต่ำกว่า
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=352.pdf&id=662&keeptrack=17
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


ผลของอุณหภูมิต่อแมลงพาหะ Matsumuratettix hiroglyphicus นำโรคใบขาวอ้อย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.