ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ประชากรแมลงพาหะ (Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura)) และการเกิดโรคใบขาวอ้อยในระบบการปลูกข้าวไร่ สลับกับอ้อย และระบบปลูกอ้อยเชิงเดี่ยว
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง อิสราพงษ์ วรผาบ
เจ้าของผลงานร่วม ยุพา หาญบุญทรง
คำสำคัญ พืชหมุนเวียน;พืชเชิงเดี่ยว;โรคใบขาวอ้อย;เพลี้ยจักจั่น M. hiroglyphicus
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การศึกษาผลของการจัดระบบปลูกอ้อยต่อปริมาณเพลี้ยจักจั่น Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura) และการเกิดโรคใบขาวในอ้อย (Sugarcane white leaf disease: SCWL disease) ในแปลงอ้อยของเกษตรกรที่ปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 เชิงเดี่ยว และแปลงที่ปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 หมุนเวียนสลับกับข้าวไร่พันธุ์สกลนคร ในพื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น โดยสำรวจปริมาณเพลี้ยจักจั่นด้วยกับดักแสงไฟ และประเมินการเกิดโรคใบขาวของอ้อยในช่วงเดือนมกราคมถึงพฤษภาคมในทุกแปลงปลูก โดยในแปลงปลูกอ้อยเชิงเดี่ยวพบปริมาณเพลี้ยจักจั่น และการเกิดโรคใบขาวอ้อยมากที่สุดในแปลงอ้อยตอ (482.75±87.39 ตัว และ 0.7±26.58%/ไร่) ส่วนในแปลงปลูกอ้อยหมุนเวียนสลับกับข้าวไร่พบปริมาณแมลงและการเกิดโรคมากที่สุดในแปลงอ้อยตอเช่นเดียวกัน (30.75±43.98 ตัว และ 0.42±5.74%/ไร่) ปริมาณแมลงพาหะและการเกิดโรคในแปลงอ้อยระบบปลูกอ้อยสลับกับข้าวไร่มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากในช่วงฤดูปลูกข้าวไร่เป็นการตัดวงจรแมลงพาหะที่เป็นตัวถ่ายทอด และแพร่กระจายเชื้อไฟโตพลาสมาทำให้เกิดการระบาดของโรคใบขาวอ้อย นอกจากนี้การปลูกข้าวไร่สลับอ้อยนั้นยังเป็นการลดและตัดวงจรการอยู่อาศัยของเชื้อไฟโตพลาสมา สาเหตุโรคใบขาวออกจากแปลงปลูกเพราะอ้อยเป็นพืชอาศัยของเชื้อด้วย ดังนั้นการปลูกอ้อยหมุนเวียนสลับกับข้าวไร่อาจเป็นวิธีการหนึ่งที่นำมาใช้ เพื่อลดการระบาดของโรคใบขาวอ้อยได้
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=372.pdf&id=664&keeptrack=20
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


ประชากรแมลงพาหะ (Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura)) และการเกิดโรคใบขาวอ้อยในระบบการปลูกข้าวไร่ สลับกับอ้อย และระบบปลูกอ้อยเชิงเดี่ยว is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง