- อธิพันธ์ วรรณสุริยะ
- 289 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | กระบวนการปรับเปลี่ยนกองทุนการเงินชุมชนสู่ธนาคารหมู่บ้านในจังหวัดสงขลา:บทเรียนในอดีตและปัจจุบันเพื่ออนาคต |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | วันชัย ธรรมสัจการ |
เจ้าของผลงานร่วม | พรนค์พิเชฐ แห่งหน |
คำสำคัญ | กองทุนการเงินชุมชน;ธนาคารหมู่บ้าน;กระบวนการปรับเปลี่ยน;บทบาทการเสริมสร้างพลังในชุมชน |
หน่วยงาน | คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การศึกษากระบวนการปรับเปลี่ยนบทบาทการเสริมสร้างพลัง ตลอดจนปัญหาอุปสรรคในการปรับเปลี่ยนกองทุนการเงินชุมชนไปสู่ธนาคารหมู่บ้าน ผลการศึกษาพบว่า การเสริมสร้างพลังทางจิตวิทยาก่อให้เกิดกระบวนการปรับเปลี่ยนกองทุนการเงินชุมชนดังนี้ 1.) กระบวนการในการปรับเปลี่ยนกองทุนการเงินชุมชนไปสู่ธนาคารหมู่บ้านประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ คน เงินทุน ที่ทำการ และการบริหารจัดการ แต่ละปัจจัยมี 3 ระยะ คือ เตรียมการ ดำเนินงาน และติดตามประเมินผล ถ้าปรับเปลี่ยนเพียงปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งจะขาดความสมดุลย์นำไปสู่ความล้มเหลวได้ 2.) บทบาทการเสริมสร้างพลังทางจิตวิทยา แบ่งเป็น 4 มิติ ได้แก่ การเห็นคุณค่าความสำคัญ การรับรู้ว่าตนมีความสามารถในการดำเนินการ การรู้สึกว่าตนมีอิสระในการตัดสินใจ และการรับผลกระทบที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยน 6 ขั้นตอน คือ ร่วมกันวางแผน ร่วมปฎิบัติ ร่วมการเปลี่ยนแปลง ร่วมรับผล และร่วมปรับตัว และ 3.) ปัญหา อุปสรรค พบเห็นในขั้นตอนต่างๆ ทั้งสี่ปัจจัยการบริหาร อาทิ ขาดการมีส่วนร่วมของสมาชิก ขาดสภาพคล่องทางการเงิน สถานที่ทำกินคับแคบ ขาดแผนในการดำเนินงานที่ชัดเจนเป็นต้น การแก้ไขปัญหาด้วยการปฎิบัติแบบลองผิดลองถูกกลับกลายเป็นศัตรูที่ดี สะท้อนให้เห็นว่าธนาคารหมู่บ้านที่มีความเข้มแข็งเกิดจากธนาคารหมู่บ้านที่รู้จักนำอดีตมาปรับปรุงปัจจุบันเพื่อก้าวไปสู่อนาคตที่ดียิ่งขึ้น |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.tci-thaijo.org/index.php/wms/article/view/135689/101371 |
สาขาการวิจัย |
|
กระบวนการปรับเปลี่ยนกองทุนการเงินชุมชนสู่ธนาคารหมู่บ้านในจังหวัดสงขลา:บทเรียนในอดีตและปัจจุบันเพื่ออนาคต is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.