ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การแปรของเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นอยุธยา
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง วีรวัฒน์ มีสมยุทธ์
คำสำคัญ การแปร;เสียงวรรณยุกต์;ภาษาไทยถิ่น
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การศึกษาการแปรของเสียงวรรณยุกต์และสัทลักษณะของวรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาของผู้พูด 2 ช่วงอายุ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของระบบวรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในด้านการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของระบบวรรณยุกต์และสัทลักษณะของวรรณยุกต์ เก็บข้อมูลเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยมาตรฐานโดยใช้คำเดี่ยว พบว่า ตัวแปรทางสังคมเรื่องของอายุ มีอิทธิพลต่อระดับวรรณยุกต์ โดยผู้บอกภาษาอายุ 55 – 65 ปีเป็นกลุ่มอายุที่ยังคงใช้วรรณยุกต์ดั้งเดิมอยู่ ส่วนกลุ่มผู้บอกภาษาอายุ 15 -25 ปี เป็นกลุ่มที่ใช้วรรณยุกต์รูปแปรมากที่สุด โดยบางวรรณยุกต์นั้นไม่มีการใช้รูปดั้งเดิม ผู้บอกภาษายิ่งมีอายุน้อยลงการศึกษายิ่งมากขึ้น ผู้บอกภาษาอายุน้อยจึงใช้รูปมาตรฐานในการพูดในชีวิตประจำวันซึ่งแนวโน้มของภาษาในอนาคตนั้น ลักษณะของภาษาถิ่นอยุธยาจะค่อยๆหายไป และจะไม่มีการแบ่งภาษาถิ่นอยุธยาออกเป็นภาษาถิ่นย่อย ภาษาในอนาคตของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาคาดว่าจะกลายเป็นภาษาเดียวและมีถิ่นเดียวกันทั้ง 16 อำเภอ
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.dpu.ac.th/dpurc/assets/uploads/magazine/q04o90dzkuoc0gck4c.pdf
สาขาการวิจัย
  • สังคมศาสตร์
Creative Commons License


การแปรของเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นอยุธยา is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง