ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การตอบสนองต่อการคัดเลือกพันธุ์แบบหมู่ประยุกต์จำนวน 4 รอบ เพื่อเพิ่มปริมาณสารแอนโทไซยานินในเมล็ดของประชากรข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง สตางค์ หัสนันท์
เจ้าของผลงานร่วม กมล เลิศรัตน์ , พลัง สุริหาร
คำสำคัญ ความก้าวหน้าของการคัดเลือกพันธุ์;สหสัมพันธ์;การปรับปรุงประชากร;พันธุ์ผสมเปิด
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การประเมินการตอบสนองของการคัดเลือกเพื่อเพิ่มปริมาณสารแอนโทไซยานินในเมล็ด และศึกษาสหสัมพันธ์ระหว่างลักษณะในประชากรข้าวโพด ข้าวเหนียวสีม่วง ที่ผ่านการคัดเลือกพันธุ์แบบหมู่ประยุกต์ ผลการศึกษาพบว่า การคัดเลือกพันธุ์ด้วยวิธีดังกล่าวสามารถเพิ่มปริมาณสารแอนโทไซยานินทั้งหมดในเมล็ดเฉลี่ยต่อรอบการคัดเลือกได้ถึง 0.43 กิโลกรัมน้ำหนักสดต่อไร่ โดยค่าเฉลี่ยของปริมาณสารแอนโทไซยานินทั้งหมดในเมล็ดเพิ่มขึ้นจาก 0.70 กิโลกรัมน้ำหนักสดต่อไร่ในประชากรเริ่มต้น (M0) เป็น 2.20 กิโลกรัมน้ำหนักสดต่อไร่ในประชากรที่ผ่านการคัดเลือกในรอบที่ 4 (M4) คิดเป็นร้อยละ 214 และยังสามารถเพิ่มผลผลิตทั้งน้ำหนักฝักก่อนปอกเปลือกและน้ำหนักฝักหลังปอกเปลือกต่อรอบของการคัดเลือกได้ถึง 129 และ 84.9 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับปริมาณสารแอนโทไซยานินทั้งหมดในเมล็ดมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับน้ำหนักผลผลิตก่อนปอกเปลือก น้ำหนักผลผลิตหลังปอกเปลือก จำนวนฝักดีต่อไร่ (0.91** 0.87** และ 0.76** ตามลำดับ) แต่มีสหสัมพันธ์ทางลบกับความสูงต้น ความสูงฝัก วันปล่อยละอองเกสร และวันออกไหม (-0.89** -0.64** -0.92**ตามลำดับ) ผลจากการศึกษาครั้งนี้ พบว่า สามารถเพิ่มความก้าวหน้าในการคัดเลือกเพื่อปริมาณสารแอนโทไซยานินในเมล็ดของประชากรข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงได้ และประชากรดังกล่าวได้นำไปใช้ประโยชน์ โดยเผยแพร่เป็นพันธุ์ผสมปล่อยและใช้เป็นแหล่งสกัดสายพันธุ์แท้ เพื่อสร้างพันธุ์ลูกผสมข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงต่อไป
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=13-65-71.pdf&id=1052&keeptrack=14
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การตอบสนองต่อการคัดเลือกพันธุ์แบบหมู่ประยุกต์จำนวน 4 รอบ เพื่อเพิ่มปริมาณสารแอนโทไซยานินในเมล็ดของประชากรข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง