- อรัญ พรหมหลวงศรี
- 504 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ผลของปุ๋ยไนโตรเจนละลายช้าที่มีต่อสมบัติบางประการของดิน และการเจริญเติบโตของกล้ามะเขือเทศ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ธงชัย มาลา |
เจ้าของผลงานร่วม | อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ , ศุภชัย อำคา , สิรินภา ช่วงโอภาส , ดุสิต จิตตนูนท์ , ไชยา บุญเลิศ |
คำสำคัญ | แอมโมเนียม;ไนเตรต;ปุ๋ยไนโตรเจนละลายช้า;มะเขือเทศ;สมบัติของดิน |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นครปฐม |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | ฟลอรานิด และปุ๋ยยูเรีย) และปัจจัยที่ 2 คือ อัตราปุ๋ย 4 อัตรา ผลการทดลองพบว่า ปริมาณของ NH+ 4 –N ในดินของการใช้ปุ๋ยยูเรียลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนการใช้ปุ๋ยฟลอรานิดเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ จนถึงที่ระยะ 40 วัน หลังจากนั้นค่อนข้างคงที่ ปุ๋ยยูเรียทำให้มีปริมาณของ NO-3 –N ในดินลดลงที่ระยะเวลา 20 และ 40 วันหลังจากใส่ปุ๋ยจากนั้นจะเพิ่มขึ้น ส่วนปริมาณของ NO-3 –N ในดินเนื่องจากปุ๋ยฟลอรานิดจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึง ที่ระยะเวลา 40 วัน จากนั้นจะลดลงเล็กน้อย การเพิ่มระดับปุ๋ยทำให้ค่า pH ของดินลดลง ส่วนค่าการนำไฟฟ้า (EC) เพิ่มขึ้น และการใช้ปุ๋ยยูเรียจะทำให้ ค่า pH ของดินลดลง และค่า EC เพิ่มขึ้นมากกว่าการใช้ปุ๋ยฟลอรานิด จำนวนใบมะเขือเทศ ปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมทั้งหมดในลำต้นและราก สัดส่วน root N:shoot N ของมะเขือเทศที่อายุ 60 วันไม่แตกต่างกัน การใส่ปุ๋ยฟลอรานิดในอัตรา 10 กรัม N/ต้น มีผลให้น้ำหนักสดต้น น้ำหนักแห้งต้นสูงที่สุดเท่ากับ 46.78 และ 9.71 กรัม/ต้น โดยที่ตำรับที่ใส่ปุ๋ยยูเรียในอัตรา 20 กรัม N/ต้น มีน้ำหนักแห้งต้นสูงที่สุดเท่ากับ 27.75 และ 6.72 กรัม/ต้น ส่วนตำรับที่ใส่ปุ๋ยฟลอรานิดในอัตรา 5 กรัม N/ต้น มีผลให้น้ำหนักสดรากและน้ำหนักแห้งรากมากที่สุดเท่ากับ 10.73 และ 1.44 กรัม/ต้น โดยที่ตำรับที่ใส่ปุ๋ยยูเรียในอัตรา 20 กรัม N/ต้น มีน้ำหนักสดรากและแห้งรากน้อยที่สุดเท่ากับ 3.40 และ 0.58 กรัม/ต้น การใช้ปุ๋ยยูเรียนั้นทำให้กล้ามะเขือเทศมี น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้งของต้นและรากน้อยกว่า |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=04%20Thongchai.pdf&id=1102&keeptrack=7 |
สาขาการวิจัย |
|
ผลของปุ๋ยไนโตรเจนละลายช้าที่มีต่อสมบัติบางประการของดิน และการเจริญเติบโตของกล้ามะเขือเทศ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.